fbpx

ภาษีเหมาจ่าย คืออะไร? คำนวณจากไหน สรุปมาให้แล้ว!

ภาษีเหมาจ่าย

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีอยู่ 2 วิธี นั่นคือ เงินได้สุทธิ กับ เงินได้พึงประเมิน ภาษีเหมาจ่าย คืออะไร? คำนวณจากตรงไหน เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับภาษีเหมาจ่ายว่าคืออะไรและมีที่มาอย่างไรมาฝากกันค่ะ

ภาษีเหมาจ่าย คืออะไร?

ภาษีเหมาจ่าย คืออะไร

วิธีการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีอยู่ 2 วิธี นั่นคือ เงินได้สุทธิ กับ เงินได้พึงประเมิน โดยวิธีคำนวณเงินได้สุทธิ คำนวณจากรายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน แล้วจึงเอามาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามอัตราภาษีเงินได้ตั้งแต่ยกเว้นจนถึง 35% ส่วนวิธีการคำนวณเงินได้พึงประเมิน เป็นการเอาเงินได้พึงประเมินที่นอกเหนือจากเงินเดือน มารวมกันแล้วคูณออกมาเป็นจำนวนภาษี แต่วิธีนี้จะใช้เมื่อคำนวณภาษีได้มากกว่า 5,000 บาท ซึ่งอัตราที่เอามาคูณ คือ 0.5% ซึ่งเงินได้พึงประเมินนี้ เรียกว่า ภาษีเหมาจ่าย ที่หลายคนเรียกกันนั่นเอง

ประเภทเงินได้พึงประเมิน ที่ใช้คำนวณมีอะไรบ้าง

ในการคำนวณภาษีเหมาจ่าย หรือ เงินได้พึงประเมิน จะคิดจากเงินได้ประเภทที่ 2 – 8 จากเงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภท อันได้แก่

  1. เงินได้ประเภทที่ 1 เงินเดือน
  2. เงินได้ประเภทที่ 2 ค่าจ้างทั่วไป
  3. เงินได้ประเภทที่ 3 ค่าลิขสิทธิ์
  4. เงินได้ประเภทที่ 4 ดอกเบี้ย เงินปันผล คริปโต
  5. เงินได้ประเภทที่ 5 ค่าเช่า
  6. เงินได้ประเภทที่ 6 ค่าวิชาชีพอิสระ
  7. เงินได้ประเภทที่ 7 ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ
  8. เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้อื่น ๆ

ภาษีเหมาจ่ายมีข้อดีอย่างไร

ภาษีเหมาจ่ายมีข้อดีอย่างไร

การคำนวณภาษีแบบเหมาจ่ายนี้ มีข้อดีคือการคำนวณภาษีง่ายและสะดวก ไม่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายและไม่ต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ยุ่งยาก เหมาะกับผู้ประกอบหรือร้านค้าออนไลน์ที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาทต่อปี

ตัวอย่าง คุณบี มีรายได้จากการขายของออนไลน์หนึ่งล้านบาท เมื่อคำนวณภาษีด้วยวิธีเหมาจ่ายโดยนำรายได้ 1 ล้านบาท คูณ 0.5% เท่ากับ 5,000 บาท แต่หากเปรียบเทียบการคำนวณภาษีแบบธรรมดา และภาษีแบบเหมาจ่าย จะเห็นว่าคุณบี หากจ่ายภาษีแบบเหมาจ่ายจะต่ำกว่าภาษีแบบธรรมดา ถึง 6,500 บาท (ภาษีแบบธรรมดา 11,500 บาท, ภาษีเหมาจ่าย 5,000 บาท)

ข้อควรพิจารณาสำหรับภาษีเหมาจ่าย

ไม่ใช่ทุกธุรกิจจะใช้วืธีคิดภาษีเหมาจ่ายแล้วจะดีเสมอไปแบบผู้ประกอบการหรือร้านค้าออนไลน์ที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น เพราะการเสียภาษีเหมาจ่ายไม่ใช่ภาษีที่คำนวณจากวิธีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาตามที่กฎหมายกำหนด แต่เป็นการประมาณยอดภาษีว่าต้องจ่ายเท่าไรในแต่ละปี โดยใช้วิธีตกลงกันระหว่างผู้ประกอบการกับสรรพากร ซึ่งวิธีนี้ผู้ประกอบการจะไม่ทราบเลยว่า กิจการของตัวเองมีรายได้ที่แท้จริงของตัวเองว่ามีรายได้เท่าไหร่ และไม่ทราบได้เลยว่าแท้จริงแล้วจะต้องเสียภาษีจริง ๆ กี่บาท อาจจะทำให้ผู้ประกอบการอาจเสียภาษีมากกว่าความเป็นจริงนั่นเอง

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องทำอย่างไร

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องทำอย่างไร

ในการยื่นแบบภาษีจะมีการยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป โดยหลักการคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย จะนำเงินได้สุทธิ คูณด้วยอัตราภาษี โดยเงินสุทธิ คำนวณจากการนำรายได้ทั้งหมดมารวมกัน พร้อมหาค่าลดหย่อน และหักออกจากรายได้ทั้งหมด จึงจะเหลือเงินได้สุทธิเพื่อนำไปคำนวณภาษีแบบขั้นบันได จากนั้นในการคำนวณภาษีจะทำเป็น 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. คำนวณ ภาษีแบบขั้นบันได

  1. เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี) ภาษี = 0
  2. เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%) ภาษี = (เงินได้สุทธิ – 150,000) x5%
  3. เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500
  4. เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500
  5. เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000
  6. เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000
  7. เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] + 365,000
  8. เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] + 1,265,000

2. คำนวณ ภาษีเหมาจ่าย

จะคิดก็ต่อเมื่อมีรายได้นอกเหนือจากเงินได้ประเภทที่ 1 ที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยนำเงินได้ประเภทที่ 2-8 คูณด้วย 0.5% หากไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้

3. นำวิธีคิดแบบขั้นบันได กับ วิธีคิดแบบเหมา มาเปรียบเทียบกัน

หลังจากที่คำนวณทั้ง 2 วิธีแล้วให้นำมาเปรียบเทียบกันโดยเลือกจำนวนที่สูงกว่า หากวิธีที่ 2 คำนวณแล้วไม่ถึง 5,000 บาทให้เลือกเสียภาษีตามวิธีที่ 1 นั่นเองค่ะ

ถึงแม้ว่าการเสียภาษีเหมาจ่าย จะมีความสะดวกต่อผู้ประกอบการเพราะไม่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายและไม่ต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่าย แต่ใช่ว่าภาษีเหมาจ่ายจะดีเสมอไป เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการไม่รู้เลยว่า รายได้ที่แท้จริง รวมไปถึงภาษีที่แท้จริงที่ต้องจ่ายเท่าไหร่กันแน่ เพราะฉะนั้นการทำบัญชีและการจัดการภาษีจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับกิจการนั่นเอง

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831