fbpx

เงินค่ามัดจำ คืออะไร? กรณีใดที่สามารถริบเงินมัดจำได้บ้าง?

เงินค่ามัดจำ

เราอาจจะเคยเห็นการซื้อขายสินค้า บางครั้งเราอาจจะไม่ได้รับสินค้าในทันที แต่ผู้ขายจะมีการเรียกเก็บเงินค่ามัดจำก่อน เมื่อถึงวันที่รับสินค้าก็ค่อยนำเงินจำนวนที่เหลือมาจ่าย เพื่อให้รับสินค้า ทั้งนี้ เงินค่ามัดจำ คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? เรามีคำอธิบายเรื่องนี้มาฝากค่ะ

เงินค่ามัดจำ คืออะไร

เงินค่ามัดจำ คืออะไร

เงินค่ามัดจำ คือ การจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือบริการไว้ในวันทำสัญญา ในทางบัญชี ถือเป็นหนี้สินของกิจการ สำหรับเงินค่ามัดจำนั้น ผู้ซื้อตกลงจะซื้อสินค้าหรือบริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา และอาจถือว่าเงินจำนวนนี้ซึ่งเป็นเงินค่ามัดจำ เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าสินค้าและบริการด้วย ทั้งนี้การเก็บเงินค่ามัดจำ เป็นการสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าจะยังซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายอยู่จนกว่าจะได้รับสินค้าหรือบริการและจบการขายในที่สุด คุณจะเห็นว่ายังมีการเรียกการจ่ายเงินในลักษณะนี้อีก โดยเรามาดูกันว่านอกจากเงินค่ามัดจำแล้ว ยังมีการเรียกเก็บเงินบางส่วนจากลูกค้าว่าอย่างไรบ้าง

เงินมัดจำ เงินล่วงหน้า เงินประกัน และเงินจอง ต่างกันยังไง?

เงินที่ผู้ขายทำการเรียกเก็บเงินส่วนหนึ่งจากผู้ซื้อมักมีการเรียกเก็บเงินมัดจำในกรณีที่ผู้ซื้อต้องการสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากหรือราคาสินค้านั้นมีมูลค่าค่อนข้างสูง ร้านค้าบางแห่งมีการเรียกเงินส่วนนี้แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

1. เงินมัดจำ

เงินที่ผู้ขายทำการเรียกเก็บเงินส่วนหนึ่งจากผู้ซื้อมักมีการเรียกเก็บเงินมัดจำ ในกรณีที่ผู้ซื้อต้องการสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก หรือราคาสินค้านั้นมีมูลค่าค่อนข้างสูง และหากภายหลังที่สินค้ามาถึงแต่ผู้ซื้อไม่ต้องการสินค้านั้นแล้ว ผู้ขายมีสามารถยึดเงินก้อนนี้ได้

2. เงินล่วงหน้า

เงินที่ได้มีการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการล่วงหน้าให้แก่ผู้ขาย จะมีการกำหนดเงื่อนไขก่อนตกลงซื้อขายโดยมีการกำหนดอัตราเป็น % ของราคาสินค้าตามที่ตกลง

3. เงินประกัน

เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการให้ไว้เป็นการรับประกันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือสัญญา หากผิดเงื่อนไขหรือสัญญาจะมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสัญญา โดยวิธีการริบเงินประกันหรือเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาหรือข้อตกลง

4. เงินจอง

เงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้ก่อนที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงในภายหลัง เป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าจะมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่ง ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะมีการชำระเงินมัดจำค่าสินค้า หรือค่าบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินจองแต่หากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่มีการทำตามสัญญาหรือข้อตกลง อาจจะถูกริบ หรือยึดเงินจองดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน

ใบรับเงินมัดจำ หลักฐานการรับเงินมัดจำ

ใบรับเงินมัดจำ หลักฐานการรับเงินมัดจำ

เมื่อมีการรับเงินค่ามัดจำแล้ว ผู้ขายจะต้องออกเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงินมัดจำ โดยเงินมัดจำนี้สามารถนำไปตัดยอดเต็มของราคาสินค้าหรือบางส่วนได้ ซึ่งเรียกเอกสารนี้ว่า ใบรับเงินมัดจำ ซึ่งในใบรับเงินค่ามัดจำ ควรมีรายละเอียดว่า เงินค่ามัดจำนี้เป็นการมัดจำสินค้าหรือบริการใด  และเมื่อจ่ายเงินครบทั้งหมด จะต้องมีการออกใบกำกับภาษีขาย ระบุรายละเอียดสินค้าเป็นยอดรวมทั้งหมดโดยที่ยังไม่หักค่าเงินมัดจำและแสดงรายการหักเงินค่ามัดจำและยอดเงินมัดจำคงเหลือมาคำนวณ VAT เพื่อได้ยอดเงินที่ลูกค้าต้องจ่าย

การริบเงินค่ามัดจำ 

การริบเงินมัดจำได้ จะต้องเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 378 “มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นท่านให้เป็นไปดั่งจะกล่าวต่อไปนี้

  1. ให้ส่งคืนเงินค่ามัดจำ หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้
  2. ให้ริบเงินค่ามัดจำ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น
  3. ให้ส่งคืนเงินค่ามัดจำ ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ”

หวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของ เงินค่ามัด จำมากยิ่งขึ้น และความแตกต่างของการเรียกเก็บเงินบางส่วนซึ่งมีชื่อเรียกต่างออกไป เช่น เงินประกัน เงินล่วงหน้า เงินจอง ซึ่งมีการใช้ในกรณีที่แตกต่างกันไปนั่นเองค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831