fbpx

อัปเดต หักประกันสังคม 2566 หักกี่บาท? ได้สิทธิอะไรบ้าง?

หักประกันสังคม

ในปีที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการลดอัตราการหักเงินสมทบประสังคมเพื่อช่วยลดภาระนายจ้าง เพื่มสภาพคล่องผู้ประกันตน แต่มาในปีนี้การหักประกันสังคม 2566 ได้สิ้นสุดการลดอัตราเงิสมทบแล้ว ทั้งผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และม.40 จะต้องจ่ายกี่บาท เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

เราจะเห็นว่าในปีที่ผ่านมาปี 2565 รัฐบาลได้มีการปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบประกันสังคม ทั้งผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และม.40 เพื่อช่วยลดภาระนายจ้าง เพื่มสภาพคล่องผู้ประกันตน ทั้งนี้

หักประกันสังคม 2566 มาตรา 33 กี่บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทหรือลูกจ้าง ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยเงินสบทบคิดคำนวณจากฐานค่าจ้างต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท แบ่งเป็นสัดส่วนดังนี้

  1. ลูกจ้าง 5% ของค่าจ้าง ขั้นต่ำ 83 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
  2. นายจ้าง 5% ของค่าจ้างลูกจ้าง ขั้นต่ำ 83 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
  3. รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินเดือนค่าจ้าง 

โดยจะได้รับความคุ้มครองได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน 

แหล่งที่มา: สำนักงานประกันสังคม

หักประกันสังคม 2566 มาตรา 39 กี่บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน ซึ่งมีการจ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน และต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม โดยผู้ประกันตนส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน รัฐบาลสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน 

ทั้งนี้ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบครบทุกเดือนต่อเนื่องกัน ซึ่งหากไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ก็จะถือว่าสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ในทันที โดยจะได้รับความคุ้มครองได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ 

หักประกันสังคม 2566 มาตรา 40 กี่บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ แรงงานนอกระบบ ที่ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33  มาตรา 39 หรือข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 แต่ไม่เกิน 65 ปี โดยสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

  1. ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี)
  2. ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี)
  3. เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต)

2. ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน 

  1. ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี)
  2. ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี)
  3. เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต)
  4. ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)

3. ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

  1. ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 90 วัน/ปี)
  2. ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ตลอดชีวิต)
  3. เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  4. ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)
  5. สงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตร 200 บาท/คน/เดือน (ครั้งละไม่เกิน 2 คน)
เพิ่มสิทธิสำหรับผู้ประกันตน ภายใต้แคมเปญ "ให้ ฟรี ลด แรงงานสุขใจ"

นอกจากการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนที่กลับเข้าสู่อัตราการนำส่งเงินสมทบตามปกติแล้ว ทางสำนักงานประกันสังคมยังเพิ่มสิทธิสำหรับผู้ประกันตน ภายใต้แคมเปญ “ให้ ฟรี ลด แรงงานสุขใจ” เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้พี่น้อง ผู้ประกันตน ลูกจ้าง นายจ้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ดังนี้

  1. สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนดอกเบี้ยต่ำ ไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยร่วมมือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถใช้สิทธิในการไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยในบัญชีเงินกู้ที่กู้อยู่กับธนาคารเดิม
  2. เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล 5 โรค ตามโรงพยาบาลที่กำหนดด้วยการผ่าตัดหรือหัตถการนำร่องในกลุ่ม 5 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม ก้อนเนื้อที่มดลูก โรคนิ่วในไตหรือ ถุงน้ำดี โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  3. ค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจในสถานประกอบการนำร่อง ใน 7 จังหวัดฟรี ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ระยอง พระนครศรีอยุธยา และสมุทรสาคร เพื่อเป็นต้นแบบด้านการบริการและป้องกันโรคในสถานประกอบการ

แม้ว่าการหักประกันสังคม 2566 ได้สิ้นสุดการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม และกลับมาหักประกันสังคมเต็มจำนวนทั้งมาตรา 33 39 และ 40 ทั้งนี้ผู้ประกันทุกมาตราควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าใจและใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลและสวัสดิการอื่นของผู้ประกันตนได้อย่างถูกต้องค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831