fbpx

เงินสดย่อย สำคัญยังไง คนมีร้านค้าหรือทำธุรกิจต้องรู้!

เงินสดย่อย

เงินสดย่อย คืออะไร 

ระบบ เงินสดย่อย คือ เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับผู้รักษาเงินสดย่อย เพื่อใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดประจำวัน เช่น ค่าซื้ออุปกรณ์สำนักงาน ค่าเดินทางไปพบลูกค้า ค่าเมสเซนเจอร์ส่งของ หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ไม่สูงมากนักที่ไม่จำเป็นต้องรอเซ็นอนุมัติ พนักงานสามารถทำเรื่องเบิกกับผู้ถือเงินสดย่อยของกิจการได้เลย

ผู้รักษาเงินสดย่อย คือใคร

ผู้รักษาเงินสดย่อย คือใคร

ผู้รักษาเงินสดย่อย ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี หรือฝ่ายการเงิน ซึ่งทำหน้าที่ เก็บรักษาเงินสดย่อย และจ่ายให้กับพนักงานที่มาขอเบิกเงินคืนตามหลักฐานที่แนบมา นอกจากนี้ผู้รักษาเงินสดย่อยมีหน้าที่ดังนี้

  1. บันทึกรายการจ่ายเงินสดย่อยลงในสมุดเงินสดย่อย
  2. จัดทำรายการจ่ายเงินสดย่อยและรวบรวมใบสําคัญจ่ายเงินสดย่อย เพื่อเตรียมขอเบิกชดเชยเงินสดย่อยที่จ่ายไป
  3. ขออนุมัติเบิกชดเชยเงินสดย่อย

เหตุใดระบบเงินสดย่อย ไม่นิยมนำเงินสดมาใช้จ่าย

ระบบการควบคุมภายในที่ดี บริษัทจะไม่ค่อยนำเงินสดมาใช้จ่าย แต่จะใช้วิธีการจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคารโดยการเขียนเช็คสั่งจ่ายในนามผู้รับ  และขีดคร่อมเช็คฉบับนั้น  และโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ถือเงินสดย่อยไว้ในมือจำนวนมากๆ เนื่องจาก

  1. กิจการไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเก็บเงินสดไว้ในมือจำนวนมากๆ
  2. การควบคุมเงินสดเป็นไปได้ง่ายขึ้น
  3. กิจการจัดเก็บเอกสารและการบันทึกบัญชีจะมีระบบมากขึ้น 
  4. สามารถตรวจสอบได้  และใช้เป็นหลักฐานได้

ทั้งนี้ในการอนุมัติทำเช็คจ่าย จะต้องเตรียมเอกสารประกอบเมื่อมีการขออนุมัติดังนี้

  1. ใบสำคัญจ่าย
  2. ใบเบิกเงินสดย่อย
  3. ใบสรุปเบิกเงินสดย่อย
  4. เอกสารประกอบ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สำเนาใบกำกับภาษี  บิลเงินสด บัตรประชาชน เป็นต้น
  5. นำเอกสารทั้ง 4 ข้อไปบันทึกบัญชี  ทำเช็ค  ลงนามอนุมัติ  จ่ายเช็ค แล้วเก็บเข้าแฟ้ม

การควบคุมวงเงินสดย่อย ทำได้อย่างไร

การควบคุมวงเงินสดย่อย ทำได้อย่างไร

การควบคุมวงเงินสดย่อย จะต้องมีการกำหนดวงเงินย่อยให้เหมาะกับรูปแบบกิจการเพื่อให้การเบิก ถอน จ่าย ให้เป็นระยะเวลา นอกจากนี้การควบคุมวงเงินสดย่อยสามารถทำได้ดังนี้

  1. กําหนดการใช้วงเงินสดย่อยว่าจะใช้แบบจำกัดหรือไม่จำกัด
  2. กําหนดประเภทของรายจ่ายที่จะจ่ายจากเงินสดย่อย
  3. การจ่ายจากเงินสดย่อย ต้องทําใบสําคัญเงินสดย่อยพร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานประกอบทุกครั้ง
  4. หากเงินสดย่อยเหลือน้อยลงหรือใกล้สิ้นระยะเวลาที่กําหนดให้ผู้รักษาเงินสดย่อยรวบรวมใบสําคัญเงินสดย่อยเพื่อขอเบิกชดเชยต่อไป
  5. ตรวจสอบและยืนยันยอดการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเงินสดย่อยอย่างสม่ำเสมอ

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่นำมาเบิกเงินสดย่อยได้

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่นำมาเบิกเงินสดย่อยได้

เนื่องจากเงินสดย่อยเป็นเงินเพื่อใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดประจำวัน หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากที่ไม่จำเป็นต้องให้เจ้านายมาเซ็นอนุมัติ ค่าใช้จ่ายที่นำมาเบิกเงินสดย่อยได้ จึงเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าน้ำมัน ค่าวัสดุสำนักงานต่าง ๆ ค่าอาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น 

ทั้งนี้ผู้เบิกจะต้องเตรียมเอกสารประกอบการเบิกเงินสดย่อยในภายหลัง ได้แก่ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่ลงรายละเอียดของกิจการอย่างถูกต้อง ทั้งชื่อ กิจการและที่อยู่ หรือหากไม่มีใบกำกับภาษี ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดจากทางร้านที่มีการเซ็นรับเงินเรียบร้อยแล้ว และถ้าหากมีสำเนาบัตรประชาชนของผู้เซ็นรับเงินก็ให้นำมาประกอบด้วย

เงินสดย่อย มีประโยชน์อย่างไร

เงินสดย่อย มีประโยชน์อย่างไร
  1. ช่วยให้มีการบริหารด้านการเงินมีระบบระเบียบมากขึ้น เพราะจะต้องมีการบันทึก หรือจัดเก็บหลักฐานการเบิก ป้องกันการทุจริตหรือนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
  2. แบ่งเบาหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการจ่ายเงินในบริษัท
  3. ลดการบันทึกบัญชีที่ไม่จำเป็นในบางกิจกรรม
  4. ช่วยควบคุมเงินสดที่เป็นรายจ่ายเบ็ดเตล็ดได้

ระบบ เงินสดย่อย มีความสะดวกกับทั้งบริษัท ผู้รักษาเงินสดย่อย และผู้ขอเบิกเงินสดย่อย แต่ทั้งนี้หากคุณเป็นเจ้าของกิจการควรจะมีการสุ่มตรวจสอบเงินสดย่อยสักเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบการเบิกจ่ายที่อาจมีการทุจริตร่วมกันของผู้รักษาเงินสดย่อยกับผู้ขอเบิกเสียเองด้วยค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831