fbpx

การเลิกจ้างพนักงาน จำเป็นต้องทำหนังสือเลิกจ้างหรือไม่?

หนังสือเลิกจ้าง

การเลิกจ้าง คือการที่นายจ้างหรือหน่วยงานประสงค์จะเลิกจ้างพนักงาน ในทางกฎหมายเป็นเจตนาของนายจ้างฝ่ายเดียว โดยมีการบอกเลิกจ้างด้วยวาจาต่อหน้าพนักงาน และออกหนังสือเลิกจ้าง ทั้งนี้การออกหนังสือเลิกจ้าง จำเป็นต่อการบอกเลิกจ้างหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาฝากค่ะ 

การเลิกจ้าง คืออะไร

การเลิกจ้าง คืออะไร

การเลิกจ้าง คือ หน่วยงานหรือนายจ้างประสงค์จะปลดพนักงานหรือลูกจ้าง ลูกจ้างไม่ได้ประสงค์จะลาออกเอง มาจากการตัดสินใจของนายจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำอะไรผิด และจะต้องมีการจ่ายเงินชดเชย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ในการบอกเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ก่อนสัญญาจ้างสิ้นสุดไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายคุ้มครองแรงงานวางหลักคุ้มครองลูกจ้าง  ตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1 สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ดังนี้

ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป

ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป
  1. หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
  2. หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน – 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
  3. หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
  4. หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
  5. หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
  6. หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 – 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
  7. หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย

ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง “ไล่ออก” ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

จะเห็นว่าการเลิกจ้างนั้นจะต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อน ไม่มีการไล่ออกทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า เพราะจะถือว่านายจ้างผิดสัญญาจ้างงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย 

อย่างไรก็ตามการแจ้งบอกเลิกจ้างงาน สำหรับสัญญาจ้างที่ไม่มีการกำหนดเวลาจ้างงาน หรือเรียกว่าสัญญาปลายเปิด จะต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย  1 เดือนหรือ 1 คราว เพื่อให้มีผลเลิกจ้างในเดือนหรือคราวถัดไป โดยมีการออกหนังสือเลิกจ้าง หรือหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน หรือ แบบฟอร์มหนังสือบอกเลิกสัญญา หรือมีการแจ้งทางวาจาได้ แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง จะต้องทำการแจ้งล่วงหน้า ออกเป็นหนังสือเลิกจ้างเพื่อเป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะดีที่สุดค่ะ

เลิกจ้าง กับ ลาออก แตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างการเลิกจ้างกับการลาออก ต่างกันที่ความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานเอง ถือว่าได้รับความยินยอมทั้งสองฝ่าย แต่หากนายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้าง เป็นความต้องการของนายจ้างฝ่ายเดียว แม้ว่าลูกจ้างอาจจะยินยอมหรือไม่ยินยอมนั่นเอง

ความผิดใดบ้างที่นายจ้างมีสิทธิไล่ออกได้ทันที

ความผิดใดบ้างที่นายจ้างมีสิทธิไล่ออกได้ทันที

การบอกเลิกจ้างลูกจ้างหรือพนักงาน จะต้องมีการแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย  1 เดือนหรือ 1 คราว แต่ทั้งนี้มีบางกรณีที่นายจ้างมีสิทธิไล่ออกเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างได้โดยไม่บอกล่วงหน้า ได้แก่

  1. ทุจริตต่อหน้าที่
  2. กระทำความผิดอาญาต่อนายจ้าง
  3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  4. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  5. ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
  6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล
  7. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน

ถูกเลิกจ้าง โดนไล่ออก รับเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคมได้

ถูกเลิกจ้าง โดนไล่ออก รับเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคมได้

เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกหรือถูกเลิกจ้างก็ตาม สิ่งที่คุณต้องทำหลังจากนี้คือการ ลงทะเบียนว่างงาน ซึ่งสามารถลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ได้ เพื่อขอรับเงินเงินชดเชยจากประกันสังคม โดยเข้าไปลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ e-service.doe.go.th ภายใน 30 หลังจากว่างงาน หากเลยกำหนดระยะเวลานี้ถือว่าเสียสิทธิ์รับเงินชดเชยคนว่างงาน ทั้งนี้การรับเงินชดเชยคนว่างงานในกรณีโดนไล่ออก หรือลาออก จำนวนเงินชดเชยจากประกันสังคมที่จะได้รับนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการว่างงานนั้นเกิดจากสาเหตุใดระหว่างโดนไล่ออก กับ ลาออกเอง ดังนี้

ว่างงานเพราะโดนไล่ออก

กรณีที่ผู้ประกันตนคนว่างงานเพราะถูกไล่ออก และได้มีการลงทะเบียนว่างงานของประกันสังคมเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินชดเชยคนว่างงานจากประกันสังคมไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)​ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจาก 

  1. ฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท
  2. ฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

เงื่อนไขการรับเงินชดเชยคนว่างงานกรณีโดนไล่ออก คือ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนถูกไล่ออกจากงาน

ว่างงานเพราะลาออก

กรณีที่ผู้ประกันคนว่างงานเพราะลาออก และได้มีการลงทะเบียนว่างงานของประกันสังคมเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินชดเชยคนว่างงานจากประกันสังคมไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน) ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจาก 

  1. ฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท 
  2. ฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท 

เงื่อนไขการรับเงินชดเชยคนว่างงานกรณีลาออก คือ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการลาออกจากงาน

การบอกเลิกจ้างนั้น แม้ว่านายจ้างจะสามารถแจ้งทางวาจาเพื่อเลิกจ้างลูกจ้างได้นั้น แต่การออกหนังสือเลิกจ้าง  จะเกิดความเป็นธรรมทั้งฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง และหากลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการถูกเลิกจ้าง ก็ยังสามารถนำหนังสือเลิกจ้างนี้เป็นหลักฐานร้องทุกข์ที่กรมแรงงานหรือสหภาพแรงงานได้อีกด้วยค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831