fbpx

สินค้าคืออะไร มีกี่ประเภท? แตกต่างจากบริการอย่างไร?

สินค้าคืออะไร

หลายคนคงมีความคุ้นเคยเกี่ยวกับคำว่า สินค้า เป็นสิ่งของที่กิจการมีไว้เพื่อขายให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ สินค้าคืออะไร ธุรกิจเกี่ยวกับสินค้ามีอะไรบ้าง และสินค้าต่างจากบริการอย่างไร บทความนี้จะมาอธิบายให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

หัวข้อเนื้อหา

สินค้าคืออะไร?

สินค้าคืออะไร

สินค้า (Goods) หมายถึงสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีตัวตนหรือสิ่งของที่กิจการมีไว้เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ หรือลูกค้าเพื่อหวังผลกำไรจากการจำหน่ายสินค้า ดังนั้นกิจการจึงมีรายได้จากการขายสินค้าตามลักษณะของการประกอบธุรกิจ ส่วนความหมายของสินค้าที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี นั่นคือ สินค้าคงเหลือ เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ หมายถึง ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจโดยปกติ  อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือ มีไว้เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้สินค้ายังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) และสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods)

สินค้ามีกี่ประเภท? มีอะไรบ้าง?

สินค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) และสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods)

สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods)

สินค้าอุปโภค คือสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อใช้เอง แบ่งตามลักษณะการซื้อของผู้บริโภคได้ 4 ชนิด ได้แก่

สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods)

สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods)

สินค้าที่เป็นของกินของใช้ในชีวิตประจำวัน ราคาไม่แพง ใช้เป็นประจำ และ เคยชินกับยี่ห้อ เช่น ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย ยาสีฟัน เป็นต้น

สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping Goods)

เป็นสินค้าราคาสูง คงทนถาวร ซื้อไม่บ่อย ต้องมีการเปรียบเทียบหลายอย่าง ทั้งเรื่องคุณภาพ การให้บริการ ราคา รูปแบบ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

สินค้าเจาะจงซื้อ (Pecialty Goods)

ผู้ซื้อจะมีความพอใจเป็นพิเศษต่อยี่ห้อนั้น ซื้อสินค้ายี่ห้อนี้เท่านั้น ซึ่งมีความภักดีต่อแบรนด์นั้นสูง เช่น เครื่องสำอาง น้ำหอม รถยนต์ เป็นต้น

สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods)

สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods)

มักจะเป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางตลาด หรือเป็นสินค้าที่รู้จักแต่ยังไม่มีความจำเป็นหรือยังไม่สนใจซื้อ จนกว่าจะมีการบอกถึงคุณค่าหรือเห็นความสำคัญก่อนจึงจะตัดสินใจซื้อ เช่น ประกันภัย วิตามินบำรุง เครื่องออกกำลังกาย เป็นต้น

สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods)

สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods)

สินค้าอุตสาหกรรม คือ สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการผลิต หรือดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

วัตถุดิบและชิ้นส่วน (Material and Parts)

สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าสำเร็จรูปออกมา 

สินค้าทุน (Capital Goods)

เป็นสินค้าที่ช่วยในการผลิต เช่น เครื่องจักร เป็นต้น

วัสดุใช้สอยและบริการ (Supplies and Service)

เป็นสินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตให้สะดวก คล่องตัว เช่น วัสดุในการซ่อมแซมและบำรุงเครื่องจักร วัสดุ สำนักงาน หรือแรงงาน เป็นต้น

ธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

เราได้ทราบความหมายเกี่ยวกับ สินค้าและประเภทสินค้าแล้ว เรามาดูกันในส่วนของธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า ว่าธุรกิจเกี่ยวกับสินค้ามีกี่ประเภท

ธุรกิจพาณิชยกรรม หรือธุรกิจซื้อขายสินค้า (Merchandising Business) 

เป็นการซื้อสินค้าเพื่อขายต่อ เช่น ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น

ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing Business)

ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing Business)

เป็นการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบมาแปรสภาพโดยผ่านกระบวนการผลิต หรือการประกอบชิ้นส่วนก่อนแล้วจึงนำออกขาย เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง โรงงานผลิตสบู่และเครื่องสำอาง เป็นต้น

สินค้าและบริการแตกต่างกันอย่างไร

สินค้าและบริการแตกต่างกันอย่างไร

นอกจากธุรกิจต่าง ๆ จะขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้ว ยังมีธุรกิจบางประเภทที่ขายความช่วยเหลือ  การบริการ เพื่อวามสะดวกสบายแก่ลูกค้า  ทั้งนี้สินค้าและบริการมีความเหมือนกันตรงที่เป็นสิ่งที่คนเราสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการให้แก่ผู้บริโภค แต่สินค้าและบริการ ก็ยังมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้

บริการไม่สามารถจับต้องได้ (Intangibility)

บริการไม่สามารถจับต้องได้ (Intangibility)

สินค้า สามารถมองเห็น จับต้องหรือพิจารณาคุณสมบัติของสินค้าได้ก่อนการซื้อได้ ทำให้การตัดสินใจซื้อสินค้าจึทำได้ง่ายกว่าการซื้อบริการ

บริการ ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่จะสามารถรับรู้ว่าบริการนั้นดีหรือไม่ก็ต่อเมื่อได้รับบริการนั้นแล้ว 

บริการไม่สามารถแบ่งแยกได้ (Inseparability)

สินค้า สามารถแยกกระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย การซื้อ และการบริโภคออกจากกันได้อย่างชัดเจน สามารถผลิตได้ครั้งละจำนวนมาก และสามารถแบ่งแยกออกเป็นหน่วยย่อยและขายให้ผู้บริโภคได้พร้อมกันหลายราย

บริการ การให้บริการและการรับบริการต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่สามารถแยกกระบวนการผลิตและการบริโภคบริการออกจากกันได้ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดในด้านผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลและข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่งทำให้สามารถให้บริการได้เพียงครั้งละ 1 ราย พนักงานผู้ให้บริการ 1 คนจึงไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าหลายรายในเวลาเดียวกัน

บริการมีความไม่แน่นอน (Variability)

สินค้า การผลิตสินค้าอาศัยปัจจัยสำคัญคือวัตถุดิบ เครื่องจักร และกระบวนการผลิตที่สามารถเตรียมพร้อม ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ง่ายกว่า 

บริการ  การให้บริการไม่ได้มีเพียงวัตถุดิบ เครื่องจักร หรือกระบวนการบริกาที่เหมือนกันเพียงเท่านั้น แต่อยู่ที่ส่วนบริการ และเกิดขึ้นเฉพาะสถานการณ์เดียวเท่านั้น

บริการจัดทำมาตรฐานได้ยาก (Heterogeneous)

สินค้า การผลิตสินค้าสามารถจัดทำมาตรฐานได้ชัดเจนทั้งรูปแบบ คุณภาพ และปริมาณ ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการผลิต ควบคุม และตรวจสอบได้ เนื่องจากสามารถกำหนดปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตได้ชัดเจนกว่า 

บริการ การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่ใช้ในการให้บริการกลับเป็นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการบริการเกิดความสะดวกและดูมีตัวตนสำหรับการให้บริการนั้น

บริการไม่สามารถเก็บไว้ได้ (Perishability)

สินค้า ผู้ผลิตสินค้าสามารถทำการคาดคะเนล่วงหน้าและทำการผลิตเก็บไว้เพื่อรองรับปริมาณความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ 

บริการ การบริการผลิตได้เพียงครั้งละหนึ่งหน่วย และจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดการซื้อและรับบริการในขณะเดียวกัน แต่ปัญหาของธุรกิจบริการคงจะไม่เกิดขึ้นถ้าหากความต้องการซื้อกับความต้องการขายมีปริมาณที่ตรงกัน จึงทำให้การบริการที่ไม่พอเพียง และอาจเสียโอกาสกับลูกค้ารายอื่นได้นั่นเอง

หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจความหมายของคำว่า สินค้าคืออะไร สินค้ามี่กี่ประเภทและประเภทของธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า และความแตกต่างระหว่างสินค้าและบริการไม่มากก็น้อยค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831