fbpx

ค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่าย ต้องจ่ายกี่ % คำนวณพร้อมกันเลย!

ค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่าย

หลายคนอาจจะมีข้อสงสัย เกี่ยวกับค่า นายหน้า กับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ว่าจะต้องหักกี่ % กันแน่ บ้างก็ว่าจ่าย 3% บ้างก็ว่าจ่าย 5% สรุปแล้วค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่าย นี้จะต้องจ่ายกี่ % นั้น วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

การจ่ายค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่าย ต้องหักเท่าไหร่?

การจ่ายค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่าย ต้องหักเท่าไหร่

ในการจ่ายค่านายหน้าหักภาษี ณ ที่จ่าย มักจะเกิดคำถามสำหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีอยู่บ่อยครั้งว่าต้องจ่าย 3% หรือ 5% กันแน่ ทั้งนี้ในการจ่ายค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่านนั้น มีข้อสังเกตตรงที่ผู้รับเงินว่าเป็นใคร

หากผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา ค่านายหน้าคือเป็นเงินได้ 40 (2) ดังนั้นจะต้องหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้าและยื่นแบบนำส่งภาษี ภ.ง.ด.1

ตารางคำนวณภาษีแบบอัตราก้าวหน้า

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษี
1 – 150,000ยกเว้นภาษี
150,001 – 300,0005%
300,001 – 500,00010%
500,001 – 750,00015%
750,001 – 1,000,00020%
1,000,001 – 2,000,00025%
2,000,001 – 5,000,00030%
5,000,001 ขึ้นไป35%

ภ.ง.ด.1 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)-(2) ใช้สำหรับแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีแล้วเท่านั้น และต้องทำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน  

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น ส่วนเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ได้แก่ เงินได้จากหน้าที่ ตำแหน่งที่ทำ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เป็นต้น 

หลักการคำนวณ ภ.ง.ด.1

หลักการคำนวณ ภ.ง.ด.1
  1. เงินได้พึงประเมิน (ทั้งปี) มาจาก เงินได้ * จำนวนคราวที่จ่าย
  2. หักค่าใช้จ่าย (50% ไม่เกิน 100,000 บาท)
  3. หักค่าลดหย่อน (ล.ย.01)
  4. เงินได้สุทธิ (ยกเว้น 150,000 บาท)
  5. คูณอัตราภาษีก้าวหน้า
  6. ภาษีเงินได้
  7. หารด้วยจำนวนคราวที่ได้
  8. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

หากผู้รับเงินเป็นนิติบุคคล ค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่าย 3%

สรุปแล้ว ค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่าย จะต้องกี่เปอร์เซ็นต์นั้น ให้ดูตรงที่ใครเป็นผู้รับเงิน หากผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า และยื่นแบบนำส่งภาษี ภ.ง.ด.1 ส่วนถ้าผู้รับเงินเป็นนิติบุคคล ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% นั่นเอง เรื่องของภาษีเป็นเรื่องของผู้เสียภาษีและเจ้าของกิจการที่จะต้องนำส่งภาษี โดยเฉพาะในส่วนของเจ้าของกิจการจะต้องมีการลงบัญชีในส่วนของรายจ่ายค่านายหน้าเพื่อนำส่งภาษี โดยจะต้องเป็นค่านายหน้าจริง มีความเกี่ยวข้องกับกิจการ และมีหลักฐานการรับค่านายหน้าอย่างชัดเจน มิเช่นนั้นรายจ่ายค่านายหน้านั้นจะเป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษีอากรได้

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831, 063-150-5855