fbpx

ขึ้นทะเบียนประกันสังคม สำคัญยังไง? ไหนลองดู!

ขึ้นทะเบียนประกันสังคม

ประกันสังคม เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตและทั้งในเรื่องของสุขภาพและยังมีเงินก้อนส่วนหนึ่งใช้เมื่อยามเกษียณของกลุ่มคนที่มีรายได้ที่มีการจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยประกันสังคมประกอบไปด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ซึ่งการ ขึ้นทะเบียนประสังคม จะมีวิธีทำอย่างไร เรามีคำอธิบายมาฝากค่ะ

ประกันสังคมมีความสำคัญต่อนายจ้างและผู้ประกันตนอย่างไร

หลายคนอาจจะเข้าใจว่าการขึ้นทะเบียนประกันสังคม มีประโยชน์ต่อลูกจ้างหรือที่เราเรียกว่าผู้ประกันตน เพราะหากลูกจ้างได้มีการสบทบเงินในกองทุนประกันสังคมแล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องการรักษาพยาบาลต่าง ๆ ตามที่เราเข้าใจกันรวมไปถึงเงินชดเชยในกรณีที่มีการลาออกจากงาน ว่างงาน เป็นต้น ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ลูกจ้างจะได้รับประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนประกันสังคมเท่านั้น สำหรับนายจ้างเอง ถือเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง รวมไปถึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ที่จะเลือกเข้ามาทำงานกับกิจการที่มีประกันสังคมอีกด้วย โดยอธิบายให้เห็นภาพมากขึ้นโดยบทความนี้จะพูดถึงลูกจ้างที่ทำงานประจำก่อนดังนี้

การขึ้นทะเบียนประกันสังคมของนายจ้างสำคัญอย่างไร

ตามกฎหมายแล้วหากกิจการของเรามีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป กิจการจะต้องมีการขึ้นทะเบียน 2 ชุดได้แก่

การขึ้นทะเบียนนายจ้าง

การขึ้นทะเบียนนายจ้าง

การขึ้นทะเบียนนายจ้างจะได้รับการขึ้นทะเบียนพร้อมกับการจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมธุรกิจการค้า

การขึ้นทะเบียนลูกจ้าง

การขึ้นทะเบียนลูกจ้าง

เป็นการขึ้นทะเบียนลูกจ้างสำหรับการจ่ายกองทุนประกันสังคมในครั้งแรก โดยต้องมีการขึ้นทะเบียนประกันสังคมสำหรับพนักงานใหม่ภายใน 30 วันนับตั้งแต่พนักงานใหม่เข้ามาทำงาน 

โดยการขึ้นทะเบียนประกันสังคมของกิจการนั้นมีความสำคัญตรงที่ ถิอเป็นการสร้างหลักประกันทางชีวิตและเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับหากเข้ามาทำงานในกิจการของคุณ หากบริษัท A มีสวัสดิการประกันสังคม แต่บริษัท B ไม่มีในส่วนของสวัสดิการประกันสังคม แน่นอนว่าคนที่กำลังมองหางาน จะเลือกบริษัทที่มีประกันสังคม เพราะอีกมุมหนึ่งคนที่กำลังมองหางาน จะมองได้ว่าบริษัทที่มีประกันสังคมมีความน่าเชื่อถือมากกว่าบริษัทที่ไม่มีประกันสังคมนั่นเอง นอกจากจะเป็นการมอบสวัสดิการให้พนักงานแล้วยังเป็นการสร้างภาพลัษณ์ที่ดีให้แก่กิจการอีกด้วย โดยสิทธิที่ผู้ประกันตนจะได้รับหากกิจการมีการขึ้นทะเบียนประกันสังคมมีดังนี้ ค่ารักษษพยาบาล ค่าเงินชดเชย กรณีทุพพลภาพ ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร ค่าใช้จ่ายยามตกงาน ค่าจัดงานกรณีเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายยามเกษียณ โดยเมื่อมีการรับพนักงานเข้าทำงาน นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

  1. นายจ้างต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการรับพนักงานเข้ามาทำงาน
  2. นายจ้างให้เลขนิติบุคคล 13 หลัก ดำเนินเรื่องการขึ้นทะเบียนลูกจ้าง/ผู้ประกันตน เมื่อมีการจ้างลูกจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงาน ณ สำนักงานประกันสังคม
  3. ยื่นข้อมูลเงินสมทบ สามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์ 

2. การขึ้นทะเบียนประกันสังคมของผู้ประกันตน สำคัญอย่างไร

ผู้ประกันตน หมายถึง ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน โดยแบ่งประเภทของผู้ประกันตนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. คนทำงานประจำ ต้องจ่ายเงินสมทบตามกฎหมาย
  2. คนที่เคยทำงานประจำ แต่ลาออกจากงานและว่างงานอยู่ ซึ่งเคยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือนตอนที่ยังทำงานประจำอยู่ และลาออกจากงานประจำไม่เกิน 6 เดือนเมื่อลาออกแล้วยังสมัครใจที่จะจ่ายเงินสมทบอยู่
  3. คนที่ไม่ได้ทำงานประจำ (Freelance) อายุ 15-60 ปี สามารถเลือกจ่ายเงินสมทบเองเพื่อให้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

เงินสมทบ คืออะไร

เงินสมทบ คืออะไร

เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ในอัตราร้อยละ 5 ทั้งนี้รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง โดยสามารถแสดงตารางอัตราการหักเงินสมทบประกันสังคมดังนี้

ตารางอัตราการหักเงินสมทบประกันสังคม
ตารางอัตราการหักเงินสมทบประกันสังคม

สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนจะได้รับมีอะไรบ้าง

ประกันสังคม เป็นการสร้างหลักประกันทางด้านการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน โดยสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนโดยจะกล่าวถึง มาตรา 33 ของคนทำงานประจำ จะได้รับนั้นมีหลายกรณีดังต่อไปนี้

1. กรณีเจ็บป่วย

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ โดยไม่ต้องมีการสำรองจ่ายแต่อย่างใด ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน หรือหากประสบอุบัติเหตุสามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลได้ทุกแห่งภายใน 72 ชั่วโมงไม่ต้องสำรองจ่าย  นอกจากนี้ยังสามารถรับบริการทันตกรรม ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุดจ่ยตามจริงไม่เกิน 900 บาท/ปี เป็นต้น

2. กรณีคลอดบุตร

ไม่ว่าผู้ประกันตนจะเป็นชายหรือหญิง ก็สามารถรับเงินค่าคลอดบุตรได้ หากผู้ประกันตนหญิง ได้รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ไม่จำกัดสถานพยาบาลและจำนวนครั้ง พร้อมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (สำหรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร สามารถเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง) หากเป็นผู้ประกันตนชาย ภรรยาที่จดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือมีหญิงที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท และยังสามารถเบิกค่าตรวจและฝากครรภ์ได้สูงสุด 1,500 บาท

3. กรณีทุพพลภาพ

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ ทุพพลภาพระดับเสียหายไม่รุนแรง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 30% หรือในส่วนที่ลดลง ไม่เกิน 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน หากทุพพลภาพระดับเสียหายรุนแรง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ตลอดชีวิต รวมไปถึงค่าบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ 

4. กรณีเสียชีวิต

ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายใน 6 เดือนก่อนเสียชีวิตจึงจะได้รับสิทธิ หากมีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท หรือจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท 

5. กรณีชราภาพ

ประกอบด้วย เงินบำนาญชราภาพ และเงินบำเหน็จชราภาพ 

6. กรณีสงเคราะห์บุตร

รับเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์

7. กรณีว่างงาน

ว่างงาน จะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีถูกเลิกจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (บังคับใช้ 1 มี.ค. 63 – 28 ก.พ. 65) และกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

ที่มา: คู่มือผู้ประกันตน

*ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน จึงจะได้รับสิทธิ

เราจะเห็นว่าการขึ้นทะเบียนประกันสังคมนั้น มีประโยชน์ต่อทั้งนายจ้างทั้งในเรื่องของสวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง รวมไปถึงความน่าเชื่อถือและเชื่อมั่นของบริษัทแล้ว นอกจากนี้ในส่วนของลูกจ้าง ถือเป็นการทำหลักประกันในการดำรงชีวิตที่ดีเรียกได้ว่าได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายนั่นเองค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831