ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการหน้าเก่าหรือหน้าใหม่ จำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษี แท้จริงแล้ว ภาษีมีกี่ประเภท เพราะภาษีเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องมีการทำตามกฎหมายและทำอย่างถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นคุณอาจจะเจอปัญหาถูกเบี้ยปรับเงินเพิ่มตามมาภายหลัง โดยวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีกันค่ะ
หัวข้อเนื้อหา
ภาษี คืออะไร
ภาษีคือเงินที่รัฐจัดเก็บจากประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นรายได้นำมาพัฒนาประเศรษฐกิจและสังคม โดยภาษีที่เก็บนั้น รัฐจะนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศและกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยภาษีจะมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเภทดังนี้
ภาษีมีกี่ประเภท
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น ซึ่งมีแบบแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 แบบ คือแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดระบบบัญชี และแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี โดยการมีสูตรคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังต่อไปนี้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล = กำไรทางภาษี x อัตราภาษี
กำไรทางภาษี สามารถคำนวณได้จากสูตรดังนี้
กำไรทางภาษี = กำไรทางบัญชี + ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี
ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี สามารถคำนวณได้จากสูตรดังนี้
ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี = รายจ่ายต้องห้าม + รายได้เพิ่มทางภาษี
สูตรภาษีเงินได้นิติบุคคล สรุปสูตรได้ดังนี้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล = (กำไรสุทธิทางบัญชี + ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี) x อัตราภาษี
โดยที่กำไรสุทธิทางบัญชี คำนวณได้จาก รายได้ – ค่าใช้จ่าย
ในส่วนของอัตราภาษีเงินได้ จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ
อัตราสำหรับภาษีเงินได้ สำหรับธุรกิจ SME
กำไรสุทธิ | อัตราภาษี | ภาษีสะสม |
---|---|---|
≤ ฿300,000 | ยกเว้น | ฿0 |
> ฿300,000 – ฿3,000,000 | 15% | > ฿0 – ฿405,000 |
> ฿3,000,000 | 20% | > ฿405,000 |
อัตราทั่วไปหรือไม่ใช่ SME
กำไรสุทธิ | อัตราภาษี |
---|---|
> ฿0 | 20% |
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีที่ถูกหักไว้ “ล่วงหน้า” หมายความว่า เราสามารถขอคืนภาษีประเภทนี้ได้ โดยกฎหมายกำหนดให้คนที่จ่ายเงินให้กับกิจการของเรา หรือคู่ค้าของเราที่ซื้อของจากเรามีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย ซึ่งเป็นไปตามประเภทของเงินได้ และตามอัตราภาษีที่กำหนดดังนี้
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ใช้บ่อย (จ่ายในไทย) | |
---|---|
ค่าใช้จ่าย | % ที่ต้องหัก |
เงินเดือน | ตามอัตราก้าวหน้า |
ค่าจ้าง (ฟรีแลนซ์) | ตามอัตราก้าวหน้า / (หรือใช้อัตรา 3%ในทางปฏิบัติ) |
ค่าบริการ/จ้างทำของ | หัก ณ ที่จ่าย 3% |
เงินปันผล | หัก ณ ที่จ่าย 10% |
ค่าเช่า | หัก ณ ที่จ่าย 5% |
ค่าขนส่ง | หัก ณ ที่จ่าย 1% |
และจะต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.3 (หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา) หรือ ภ.ง.ด.53 (หัก ณ ที่จ่ายนิติบุคคล)
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ เป็นภาษีที่ใกล้ตัวประชาชน เพราะทุกครั้งที่เราซื้อสินค้า เราต้องจ่ายภาษีประเภทนี้โดยอัตโนมัติ ส่วนคนทำธุรกิจ ภาษีนี้เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจ หรือให้บริการประเภทต่าง ๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ฯลฯ ที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาท ขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม โดยการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่สรรพากร จะใช้แบบ ภ.พ. 30 คำนวณตามสูตรดังต่อไปนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งสรรพากร = ภาษีขาย – ภาษีซื้อภาษีขาย = มูลค่าการขาย x 7% ภาษีซื้อ = มูลค่าการซื้อ x 7%
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีประเภทนี้จะถูกจัดเก็บในธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงตามชื่อ ได้แก่ กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ใครที่ไม่ได้ทำกิจการที่เข้าข่ายกิจการดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษีประเภทนี้
5. อากรแสตมป์
จัดเป็นภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร จะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว
อ่านถึงตรงนี้รู้แล้วใช่มั้ยว่า ภาษีมีกี่ประเภท ภาษีเป็นสิ่งที่ผู้ที่มีหน้าที่จ่ายภาษีควรจ่ายให้ตรงเวลา จะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลัง ในการที่คุณจดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว คุณควรจะต้องรู้และเข้าใจว่าจะต้องเสียภาษีประเภทไหนบ้าง เพื่อจะได้ออกเอกสารได้อย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ทำบัญชีได้อย่างถูกต้องต่อไป
ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:
บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/
Facebook: facebook.com/kmcp.acc
สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc
LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc
Tel: 082-254-6831, 063-150-5855