fbpx

ต้นทุนแปรผัน ต่างกับต้นทุนคงที่ยังไง? ไปดู!

ต้นทุนแปรผัน ต่างกับต้นทุนคงที่ยังไง

บทความตอนที่แล้วเราได้อธิบายเกี่ยวกับต้นทุนคงที่ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่เพิ่มและไม่ลดลงตามปริมาณการผลิต และไม่ผันแปรตามปริมาณการผลิตว่าจะผลิตมากน้อยเพียงใด หรือไม่มีการผลิตเลย ก็ยังทำให้ต้นทุนคงที่นั้นมีค่าคงที่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ต้นทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิตสินค้า เราจะเรียกว่า ต้นทุนแปรผัน หรือ Variable Cost นั่นหมายความว่า ยิ่งผลิตสินค้ามากต้นทุนแปรผันจะยิ่งจ่ายมาก หากผลิตสินค้าน้อยต้นทุนแปรผันก็จะจ่ายน้อยลง วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับต้นทุนแปรผันกันค่ะ

1. ต้นทุนแปรผัน คืออะไร?

ต้นทุนแปรผัน หรือ Variable Cost คือ ต้นทุนที่มีค่าเพิ่มมากขึ้นจามจำนวนการผลิตสินค้า ยิ่งผลิตสินค้ามากต้นทุนแปรผันจะยิ่งจ่ายมาก หากผลิตสินค้าน้อยต้นทุนแปรผันก็จะจ่ายน้อยลง ซึ่งแตกต่างจากต้นทุนคงที่ ต้นทุนที่ไม่เพิ่มและไม่ลดลงตามปริมาณการผลิต และไม่ผันแปรตามปริมาณการผลิตว่าจะผลิตมากน้อยเพียงใด หรือไม่มีการผลิตเลย ก็ยังทำให้ต้นทุนคงที่นั้นมีค่าคงที่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง  โดยส่วนใหญ่แล้วต้นทุนผันแปร มักจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบการผลิตสินค้า ค่าแรงงานการผลิต ค่าหีบห่อบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่งสินค้า ค่าวัตถุดิบในตลาด เป็นต้น

2. ตัวอย่างต้นทุนแปรผัน

การผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มค่าวัตถุดิบและทำให้ต้องเพิ่มค่าบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นตาม เพราะค่าบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ต้นทุนแปรผันยังมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามสภาวการณ์ในตลาด เช่น ค่าขนส่งมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น หรือมีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ก็ยังส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงงานต่อคนเพิ่มขึ้น ก็ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เป็นต้น โดยการคำนวณต้นทุนแปรผันต่อหน่วยมีสมการดังต่อไปนี้

ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย = ต้นทุนแปรผันทั้งหมด*จำนวนหน่วยการผลิต

ผู้ประกอบการควรใส่ใจเรื่องของต้นทุนแปรผัน เพื่อจะได้ช่วยเป็นการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก หมั่นตรวจสอบราคากลางของวัตถุดิบ โดยเช็คจากซัพพลายเออร์หลายแห่ง เพื่อให้ได้ราคาและข้อเสนอที่น่าสนใจและคุ้มค่ามากที่สุด และหากมีการซื้อในปริมาณมากเรายังสามารถขอต่อรองลดราคาวัตถุดิบได้

3. ต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน ต่างกันยังไง?

ต้นทุนคงที่คืออะไร

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงที่มาที่ไปของต้นทุนคงที่ เมื่อเราทราบต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และต้นทุนแปรผัน (Variable Cost) ซึ่งเป็นการแบ่งตามพฤติกรรมของต้นทุน โดยวิเคราะห์มูลค่าของต้นทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณ จำนวนการผลิตแล้ว ต้นทุนยังสามารถแบ่งออกได้อีกหลากหลายประเภท ได้แก่ ต้นทุนตามหน้าที่สายการผลิต เช่น ต้นทุนแผนกการผลิต ต้นทุนแผนกการตลาด หรือยังแยกตามส่วนประกอบการของสินค้า เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรง ทำให้เราสามารถหาจุดคุ้มทุน (Break-even point)

1. วิธีคำนวณจุดคุ้มทุน (Break-even point)

จุดคุ้มทุน (หน่วยขาย) = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย-ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

จุดคุ้มทุน (ยอดขาย) =  หน่วยขายที่คุ้มทุน* ราคาขายต่อหน่วย

เมื่อเรารู้และเข้าใจเรื่องของต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผันแล้ว จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปพิจารณา ตัดสินใจ เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น

2. ตัวอย่างต้นทุนแปรผันและต้นทุนคงที่

  1. เกิดสถานการณ์ที่ทำให้ต้องลดรายจ่าย โดยลดรายจ่ายที่ไม่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพสินค้า เช่น การลดการใช้ไฟในช่วงพักกลางวัน ลดการอนุมัติทำโอที หรือลดงบประมาณการทำโฆษณา เป็นต้น
  2. ขายของไม่ค่อยได้กำไรเท่าที่ควร หรือขายของได้มากแต่ได้กำไรน้อย อาจทำการลดต้นทุนแปรผัน เช่น ในช่วงที่มีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติก ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อไปใช้วัสดุทางเลือกต่าง ๆ ได้

สรุปแล้วต้นทุนแปรผัน เป็นต้นทุนมีค่าเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนการผลิตสินค้า ยิ่งผลิตสินค้ามากต้นทุนแปรผันจะยิ่งจ่ายมาก หากผลิตสินค้าน้อยต้นทุนแปรผันก็จะจ่ายน้อยลง ซึ่งแตกต่างจากต้นทุนคงที่ ต้นทุนที่ไม่เพิ่มและไม่ลดลงตามปริมาณการผลิต และไม่ผันแปรตามปริมาณการผลิตว่าจะผลิตมากน้อยเพียงใด หรือไม่มีการผลิตเลย ก็ยังทำให้ต้นทุนคงที่นั้นมีค่าคงที่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง  โดยส่วนใหญ่แล้วต้นทุนผันแปร มักจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบการผลิตสินค้า ค่าแรงงานการผลิต ค่าหีบห่อบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่งสินค้า ค่าวัตถุดิบในตลาด เมื่อเรารู้และเข้าใจเรื่องของต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผันแล้ว จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปพิจารณาเรื่องการเพิ่ม หรือลดกำลังการผลิต การตั้งเป้าหมายทำกำไร และยังช่วยควบคุมต้นทุนเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831