fbpx

ต้นทุนคงที่ สำคัญยังไงกับบริษัท!?

ต้นทุนคงที่ สำคัญยังไงกับบริษัท

ในการลงทุนทำธุรกิจควรจะมีการวางแผนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยบริหารการใช้เงินทุนหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งการคำนวณ ต้นทุนคงที่ หรือ Fixed Cost จะช่วยให้การวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น สำหรับต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ไม่เพิ่มและไม่ลดลงตามปริมาณการผลิต และไม่ผันแปรตามปริมาณการผลิตว่าจะผลิตมากน้อยเพียงใด หรือไม่มีการผลิตเลย ก็ยังทำให้ต้นทุนคงที่นั้นมีค่าคงที่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีต้นทุนอีกประเภทเรียกว่าต้นทุนแปรผัน ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตสินค้า นั่นหมายความว่ายิ่งเพิ่มหรือลดปริมาณการผลิตสินค้า ต้นทุนแปรผันก็จะแปรผันตามไปด้วยนั่นเอง วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับต้นทุนคงที่กันก่อนค่ะ

1. ต้นทุนคงที่คืออะไร?

ต้นทุนคงที่คืออะไร

ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือ ต้นทุนที่ไม่ผันแปรตามการผลิต ไม่ว่าจะมีการผลิตมาก ผลิตน้อย หรือไม่มีการผลิตเลย ต้นทุนคงที่ก็ยังมีจำนวนเท่าเดิม เช่น ต้นทุนค่าเช่าโรงงานเพื่อผลิตสินค้า โดยมีค่าเช่าเดือนละ 1,000,000 บาท แม้ว่าเดือนนี้ผู้ผลิตสินค้า จะผลิตสินค้าออกมาได้ 50 ชิ้น 500 ชิ้น หรือ 5,000 ชิ้น ผู้ผลิตสินค้านี้ ก็ยังต้องจ่ายค่าเช่าโรงงานผลิตสินค้าต่อเดือน 1,000,000 บาท อยู่ดี แต่ หากเดือนนั้นมีการผลิตสินค้าได้มากขึ้น ก็จะส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตลดลง เพราะมีตัวหารต้นทุนคงที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตสินค้าลดลงตามไปด้วย หรือสามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าแต่ได้จำนวนสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง โดยมีสมการการหาต้นทุนคงที่ต่อหน่วย หรือต้นทุนคงที่ที่ใช้สำหรับการผลิตสินค้า หรือบริการ 1 หน่วยดังนี้

2. สมการหาต้นทุนคงที่ต่อหน่วย

ต้นทุนคงที่ต่อหน่วย = ต้นทุนคงที่รวม / จำนวนการผลิตทั้งหมด

สมการหาต้นทุนคงที่ต่อหน่วย

ในทางกลับกันต้นทุนที่มีค่าเพิ่มขึ้นตามการผลิตสินค้าหรือแปรผันตามจำนวนการผลิต จะเรียกว่า ต้นทุนแปรผัน เช่น ค่าแรงงานการผลิต ค่าหีบห่อบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่งสินค้า ค่าวัตถุดิบในตลาด หรือ ซึ่งเราจะได้กล่าวไปในหัวข้อถัดไป

แต่เมื่อเวลาผ่านไปต้นทุนคงที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปภายในระยะเวลาหนึ่ง อันเนื่องมาจากในตอนแรกโรงงานผลิตอาจจะใช้เครื่องจักร 1 เครื่องในการผลิตสินค้าได้ใม่เกิน 5,000 ชิ้น แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป มีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้นทำให้เครื่องจักรเพียง 1 เครื่อง อาจจะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการ จึงจำเป็นต้องซื้อเครื่องจักร 1 เครื่องเพื่อเพิ่มการผลิตสินค้า จึงทำให้ต้นทุนคงที่มีความเปลี่ยนแปลง แค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยต้นทุนคงที่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ต้นทุนคงที่ระยะสั้น Discretionary Fixed Cost

ต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือมีการเกิดต้นทุนนั้นเป็นครั้งคราว เช่น ค่าโฆษณาโปรโมทสินค้า ค่าทำแคมเปญ ค่ายิงโฆษณา แต่เมื่อใดที่สิ้นสุดระยะเวลาโฆษณาแล้ว ต้นทุนในส่วนนี้จะหายไป

2. ต้นทุนคงที่ระยะยาว Committed Fixed Cost

ต้นทุนระยะยาว จะเป็นต้นทุนที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เช่น ค่าเช่าโรงงานผลิตสินค้าระยะยาว ค่าเช่าเครื่องจักร ค่าเช่าโกดังเก็บสินค้า เป็นต้น แต่หากมีการไปเช่าโรงงานใหม่ หรือโกดังใหม่ ต้นทุนในส่วนนี้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยนั้นเอง

ตัวอย่างต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่าโรงงานผลิตสินค้าระยะยาว ค่าเช่าเครื่องจักร ค่าเช่าโกดังเก็บสินค้า ค่าเสื่อมราคา ค่าดูแลอาคารสถานที่ ค่าเบี้ยประกันต่าง ๆ เป็นต้น

3. ต้นทุนกับค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไร?

เราจะเห็นว่าต้นทุน เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่าย  แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ค่าใช้จ่าย คือต้นทุนอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เราขายสินค้านั้นได้หรือช่วยให้เกิดรายได้กับเรา เช่น ค่าลงโฆษณา ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าต่าง ๆ ค่าแรงพนักงาน หรือค่าใช้จ่ายทั่วไปที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ เป็นต้น

สรุปแล้วต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามปริมาณการผลิต และไม่ผันแปรตามปริมาณการผลิตว่าจะผลิตมากน้อยเพียงใด หรือไม่มีการผลิตเลย ก็ยังทำให้ต้นทุนคงที่นั้นมีค่าคงที่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าเช่าเครื่องจักร ที่แม้ว่าจะมีการผลิตได้มากหรือน้อย ก็ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้ทุกเดือน หรือหากต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลงจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น มีการย้ายไปโกดังใหม่ ทำให้เสียค่าเช่าแพงขึ้นกว่าเดิม หรือมีการเพิ่มเครื่องจักรใหม่อีกหนึ่งเครื่อง เพื่อเพิ่มการผลิต ทำให้ต้นทุนคงที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเทียบกับจำนวนการผลิตที่ได้แล้ว ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตสินค้าลดลงตามไปด้วย หรือสามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าแต่ได้จำนวนสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831