Disclosure Form หรือ แบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หากไม่ยื่นเอกสารนี้จะมีโทษปรับสูงสุดถึงสองแสนบาทเลย แล้วใครบ้างที่ต้องมีหน้าที่ยื่น Disclosure Form บ้าง บุคคลที่เป็นเจ้าของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ยื่นแบบเปิดเผยข้อมูล แบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลจะต้องยื่นต่อสำนักงานกรมสรรพากรภายใน 2 เดือนหลังจากสิ้นปีงบประมาณของทุกปี ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร เมื่อแบบฟอร์มเปิดเผยข้อมูลเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะต้องลงนามโดยผู้รับผิดชอบและส่งไปยังกรมสรรพากร แล้วแบบรายงานประจำปีสำคัญยังไง เรามีคำอธิบายมาฝากค่ะ
หัวข้อเนื้อหา
Disclosure Form คืออะไร
Disclosure Form หรือ แบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) คือ แบบรายงานที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องจัดทำตามแบบที่อธิบดีกำหนดและยื่นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 69 คือ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี เป็นแบบรายงานที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ
1. รายชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
2. มูลค่าธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
3. ข้อมูลอื่นๆ เช่น ผู้มีหน้าที่จัดทำงบการเงินรวม การปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนไปยังบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
ใครมีหน้าที่ยื่น Disclosure Form
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพัมธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง นิติบุคคล ตั้งแต่ 2 นิติบุคคลขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะต่อไปนี้
1.1 นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด
1.2 ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดถือหุ้นหรือหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ
1.3 นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุนการจัดการ หรือการควบคุมในลักษณะ ที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการโดยอิสระจากอีกนิติบุคคลหนึ่งตามที่กำหนดโดยกระทรวง
2. มีรายได้ทั้งหมด มากกว่า 200 ล้านบาท
แหล่งที่มา: DCformfactsheet_Final (rd.go.th)
ช่องทางการยื่น Disclosure Form
- การยื่น Disclosure Form ให้ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรรมสรรพากร www.rd.go.th โดยตรง หรือผ่านทางระบบบริหาร Single Sign on ทางเว็บไซต์ (Website) ของสรรพากรได้ขยายเวลาการยื่นเพิ่มอีก 8 วัน เป็นภายใน 158 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
- หากมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถยื่น e-Filing ได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์ Disclosure Form จากระบบเพื่อนำแบบรายงานที่เป็นกระดาษยื่น พร้อมกับทำหนังสือแจ้งต่ออธิบดีกรรมสรรพากรถึงเหตุอันสมควรที่สามารถยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 150 วัน นับวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ต้องยื่น Disclosure Form เมื่อไหร่
บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เข้าข่ายยื่น Disclosure Form จะต้องมีการนำส่งแบบภายใน 150 วัน หลังสิ้นรอบบัญชี หากเป็นการยื่นแบบ e-filing จะมีการขยายให้เป็น 158 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
โทษปรับหากไม่ยื่น Disclosure Form
มาตรา 35 ตรี ตามประมวลรัษฎากร กำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสารหรือหลักฐาน ตานแบบที่อธิบดีกำหนด หรือแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีอัตราเทียบปรับดังนี้
1. ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 50,000 บาท
2. เกิน 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 100,000 บาท
3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบ ปรับ 200,000 บาท
Disclosure Form ต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง
1. รายชื่อบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยต้องระบุว่ามีรายการธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์หรือไม่
2. มูลค่าธุรกรรมที่มีระหว่างกันในรอบระยะเวลาบัญชี
2.1 รายได้โดยตรง เช่น รายได้จากการขาย/บริการสินค้าหลักของกิจการ เป็นต้น
2.2 รายได้อื่น เช่น เงินอุดหนุน ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น
2.3 ค่าใช้จ่ายซื้อวัตถุดิบ/สินค้า
2.4 ซื้อ-ขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2.5 รายจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าสิทธิ ค่าบริหาร ค่านายหน้า ดอกเบี้ยจ่าย เป็นต้น
2.6 จำนวนเงินกู้ยืมและให้กู้ยืม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
3. ข้อมูลอื่นๆ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างทางธุรกิจ การจำหน่ายโอนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนระหว่างกัน เป็นต้น
Disclosure Form เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เข้าข่ายต้องยื่นแบบ Disclosure Form ควรให้ความสำคัญและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เพราะหากไม่ยื่นแบบรายงานนี้ จะมีโทษปรับสูงถึงสองแสนบาท รู้แบบนี้แล้วควรทำความเข้าใจ ยื่นแบบได้ถูกต้องและทันเวลาไม่ต้องมาค่าปรับหลักแสนอีกด้วยค่ะ
ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:
บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/
Facebook: facebook.com/kmcp.acc
สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc
LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc
Tel: 082-254-6831