เชื่อว่าหลายคน คงเคยเกิดความสับสนระหว่างแสตมป์ที่ใช้ปิดซองจดหมายทั่วไปหรือที่เรียกว่าดวงตราไปรษณียากรกับ อากรแสตมป์ ที่เรามักพบเห็นในเอกสารธุรกิจต่าง ๆ แต่มีความแตกต่างกันตรงที่อากรแสตมป์ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและไม่ได้มีไว้ปิดซองจดหมายได้ เพราะอากรแสตมป์ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยเอกสารที่ต้องใช้อากรแสตมป์ มีทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น
หัวข้อเนื้อหา
1. เอกสาร-สัญญา ที่ต้องเสียอากรแสตมป์
ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ โดยคำว่า “ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากร หมายถึง เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตรา อากรแสตมป์ ซึ่งปัจุจบันมีทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร ได้แก่
- ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือแพ
- โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตร ใบรับรองหนี้ โดยมีบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์กรใด ๆ เป็นผู้ออก
- เช่าซื้อทรัพย์สิน
- จ้างทำของ
- กู้ยืมเงิน
- กรมธรรม์ประกันภัย
- ใบมอบอำนาจ
- ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
- ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน และ (2)ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน
- บิลออฟเลดิง
- ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ (2) พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย
- เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
- ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
- เลตเตอร์ออฟเครดิต
- เช็คสำหรับผู้เดินทาง
- ใบรับของ
- ค้ำประกัน
- จำนำ
- ใบรับของคลังสินค้า
- คำสั่งให้ส่งมอบของ
- ตัวแทน
- คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
- คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
- หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
- ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
- ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน
- หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
- ใบรับ (ก) ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล (ข) ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร โดยคำว่า กระทำ หมายความว่า การลงลาย มือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. ใครบ้างต้องเสียอากรแสตมป์
- บุคคลตามที่ระบุไว้ในช่องที่ 3 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ผู้ให้เช่าผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ฯลฯ
- ถ้าตราสารทำขึ้นนอกประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศเป็น ผู้เสียอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น ถ้าหากไม่ได้ปฏิบัติตามความข้างต้น ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสียอากรแล้วจึงยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้ ผู้ทรงตราสารคนใด ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียอากรก็ได้โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อนๆ
- ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก ผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้
- ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้ เว้นแต่กรณีตาม ข้อ 2.
3. อากรแสตมป์ ซื้อได้ที่ไหน?
สำนักงานสรรพกรพื้นที่หรือสาขาใกล้บ้าน
4. วิธีการเสียอากรแสตมป์
วิธีการเสียอากรแสตมป์สำหรับการทำตราสาร เรียกว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์ หมายความว่า
- กรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรือใน ทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว
- กรณีแสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว
- กรณีชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตาม เพื่อความสะดวกในการเสียอากร ที่มีค่าอากรแสตมป์เป็นจำนวนมาก ไม่สะดวกในการใช้ดวงแสตมป์อากรปิดบนตราสารหรือในกรณีไม่สะดวกในการชำระค่าอากร โดยใช้แสตมป์ดุน การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน
5. หากไม่มีการปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร
ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน ในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอัตราในบัญชีท้าย หมวดอากรแสตมป์ และขีดฆ่าแล้วแต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากร
6. การขอคืนเงินอากร
ผู้ใดเสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไม่น้อยกว่า 2 บาท สำหรับตราสารลักษณะเดียวหรือเรื่องเดียว ผู้นั้นชอบที่จะทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่ออธิบดีเห็นว่าเกินไปจริงก็ให้คืน ค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรที่เกินไปนั้นให้แก่ผู้เสียอากรได้ แต่คำร้องที่กล่าวนั้นต้องยื่นภายใน 6 เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากรและต้องประกอบด้วยคำชี้แจงหรือเอกสาร ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ อธิบดีเห็นสมควรให้ยื่นสนับสนุนคำร้อง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: การขอคืนเงินอากร | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
อากรแสตมป์ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ไม่ใช่ดวงตราไปรษณียากรที่ไว้สำหรับปิดซองจดหมายทั่วไป และไม่สามารถหาซื้อได้ที่ไปรษณีย์หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป โดยอากรแสตมป์จะใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการและสัญญาต่าง ๆ โดยมีกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บ และหากไม่มีการปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้อีกด้วย
แหล่งที่มา: https://www.rd.go.th/305.html
บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/
Facebook: facebook.com/kmcp.acc
สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc
LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc
Tel: 082-254-6831