fbpx

ภาษีขายของออนไลน์ พ่อค้าแม่ค้า ควรรู้ไว้!

ภาษีขายของออนไลน์ พ่อค้าแม่ค้า ควรต้องรู้ไว้

ปัจจุบันนี้หลายคนหันมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าเพิ่มมากขึ้น และพ่อค้าแม่ค้าควรรู้เรื่อง ภาษีขายของออนไลน์ โดยเฉพาะการขายของออนไลน์ กลายเป็นอาชีพยอดนิยม บางคนยึดเป็นอาชีพเสริม บางคนยึดเป็นอาชีพหลักก็มี เพราะการขายของออนไลน์สร้างรายได้กำไรงามนั่นเอง ทั้งนี้กรมสรรพากรจึงจำเป็นจะต้องเข้ามาควบคุมดูแลในส่วนนี้ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จำเป็นจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจเรื่องของภาษีขายของออนไลน์

ทำความรู้จักกับ ภาษีขายของออนไลน์

ภาษีขายของออนไลน์ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ โดยมีการคำนวณภาษีขายของออนไลน์เป็น 2 ประเภท

ภาษีขายของออนไลน์ มีอะไรบ้าง

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (พ่อค้าแม่ค้าธรรมดา ที่ไม่มีการจดทะเบียนพาณิชย์)
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (สำหรับร้านขายของออนไลน์ที่จดทะเบียนเป็นบริษัท)

วิธีคำนวณ ภาษีขายของออนไลน์

วิธีคำนวณ ภาษีขายของออนไลน์

ภาษีขายของออนไลน์ มีการคำนวณภาษีไม่แตกต่างจากภาษีทั่วไป ซึ่งมีการคิดภาษีขายของออนไลน์ 3 แบบ ได้แก่

  1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านขายของออนไลน์ที่มีการซื้อมาขายไป ไม่ได้ผลิตเอง
  2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านขายของออนไลน์หรือบ้านที่มีการผลิตสินค้าเอง
  3. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา กรณีที่คุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท จะคิดภาษี 0.5% ของเงินได้

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีที่ต้องจ่าย = (รายได้ – รายจ่าย – ค่าลดหย่อน) X อัตราภาษี

รายได้สุทธิ คือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆค่าลดหย่อน คือ ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้ (ในแต่ละปีสรรพากรจะประกาศค่าลดหย่อนแตกต่างกัน ต้องคอยติดตามข่าวสาร)

อัตราภาษี คือ อัตราภาษีที่รัฐบาลประกาศ

เงินได้สุทธิต่อปีอัตราภาษี
0 – 150,000ได้รับการยกเว้นภาษี
150,001 – 300,0005%
300,001 – 500,00010%
500,001 – 750,00015%
750,001 – 1,000,00020%
1,000,001 – 2,000,00025%
2,000,001 – 5,000,00030%
5,000,001 บาทขึ้นไป35%

*หากรายได้จากการขายของออนไลน์ไม่ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีโอกาสที่จะไม่เสียภาษีเช่นกัน

สรรพากรจะรับรู้รายได้ของกิจการเราได้อย่างไรบ้าง?

  1. กฎหมายเงินเข้าบัญชีธนาคาร
  2. กิจการถูกหัก ณ ที่จ่าย
  3. มีหน้าร้าน
  4. ธุรกิจออนไลน์ ที่มีการ Live สดจากช่องทางต่างๆ
  5. ขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Shopee, Lazada

สรรพากรรู้ได้อย่างไรว่ามีการขายของออนไลน์?

สรรพากรรู้ได้อย่างไรว่ามีการขายของออนไลน์

ทำไมสรรพากรถึงรู้ว่าใครมีทำการขายของออนไลน์ เพราะปัจจุบันสถาบันการเงิน จะต้องมีการนำส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ภาษีอีเพย์เมนต์ (E-Payment) ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา (พ่อค้าแม่ค้าธรรมดา) นิติบุคคล (ผู้ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะจะต้องมีเงื่อนไข 2 อย่าง ดังต่อไปนี้

เงินเข้าบัญชีเท่าไหร่ ถึงจะโดนสรรพากรตรวจสอบ?

เงินเข้าบัญชีเท่าไหร่ ถึงจะโดนสรรพากรตรวจสอบ
  1. มีฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้ง/ปี ขึ้นไป ไม่ว่าจะมีมูลค่ามาก หรือน้อยแค่ไหนก็ตาม
  2. มีการฝากหรือโอนรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมตั้งแต่ 2 ล้านบาท/ปี

โดยยอดเงินเข้าบัญชีในที่นี้ จะประกอบไปด้วย ยอดเงินฝากเข้าบัญชีทุกประเภท ไม่ว่าจะมาจากช่องทางไหน เช่น เคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้ฝากเงิน iBanking ช่องทางออนไลน์ การฝากเช็คเข้าบัญชี (Auto Transfer) ส่วนเครื่องรูดบัตร นับตามจำนวนครั้งที่รูด รวมไปถึงยอดเงินเข้าจากดอกเบี้ยรับหรือเงินปันผล หากคุณเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ที่ได้กล่าวข้างต้นนี้ สรรพากรจะได้รับข้อมูลของคุณตั้งแต่

  1. เลขประจำตัวประชาชน
  2. ชื่อ-นามสกุล
  3. เลขที่บัญชีเงินฝาก
  4. จำนวนครั้งของการฝากหรือโอนการรับเงิน
  5. ยอดรวมของการฝากหรือโอนรับเงิน

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องยื่นภาษีขายของออนไลน์?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่ายอดเงินที่เข้าบัญชีทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีการเสียภาษีทั้งหมดตามยอดที่เข้ามา ทั้งนี้กรมสรรพากรจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่น โดยที่เจ้าของบัญชีอย่างเรา จะต้องเตรียมหลักฐานการรับ-โอนเงินดังต่อไปนี้

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องยื่นภาษีขายของออนไลน์
  1. บุคคลธรรมดา ที่รับเงินตามปกติก็ไม่ต้องทำอะไร
  2. ผู้รับงานฟรีแลนซ์ ที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่ต้องทำอะไร
  3. พ่อค้าแม่ค้าและร้านค้าที่จดทะเบียนการค้า จดทะเบียน VAT และมีการเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมจากปกติ
  4. พ่อค้าแม่ค้า หรือร้านค้าออนไลน์ที่ยังไม่เคยเสียภาษีมาก่อน แนะนำให้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (จดทะเบียนร้านค้าออนไลน์) ให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีการแยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีที่ใช้ทำธุรกิจออกจากกัน และมีการเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการเงินไว้ให้หมด เพื่อเอาไว้ยื่นภาษี พร้อมทั้งยื่นภาษีและเสียภาษีให้ถูกต้อง
  5. พ่อค้าแม่ค้าออฟไลน์และกิจการขนาดเล็กที่ยังไม่เคยเสียภาษีให้ถูกต้อง แนะนำให้จดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้อง เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แถมยังสามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้ หรือเสียภาษีจากกำไร ถ้าช่วงแรกยังไม่มีกำไรก็ยังไม่ต้องเสียภาษี

ความจริงแล้วการค้าขายจะต้องมีหลักฐานในการซื้อขาย บัญชีรายรับรายจ่าย ใบคำสั่งซื้อ หรือหลักฐานในการรับเงินจ่ายเงินต่าง ๆ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยากในการเตรียมตัวสำหรับการยื่นภาษีขายของออนไลน์ แต่สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องทำเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

  1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย รวมไปถึงบันทึกกิจกรรมทางการเงินทุกอย่าง เพื่อให้สามารถดูได้ว่ามีการเข้าออกของเงินอย่างไร
  2. เก็บหลักฐานทางการเงินทุกอย่างไว้ ไม่ว่าจะเป็นการจ่าย ถอน รับโอน หรือการลงทุน เพื่อที่เวลาสรรพากรขอดู เราก็จะได้มีเอกสารให้ดูและเพื่อยืนยันการทำธุรกรรมต่าง ๆ
  3. หมั่นติดตามข่าวสารทางการเงินอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องของภาษีเพื่อประโยชน์ต่อตัวคุณเอง
  4. หาความรู้เพิ่มเติมในด้านภาษีเงินได้ เพื่อช่วยให้สามารถจัดการในเรื่องของรายรับรายจ่าย ภาษีที่ต้องจ่าย รวมไปถึงการลดหย่อนภาษีอีกด้วย

ทุกคนที่มีรายได้รวมไปถึงผู้ประกอบการร้านค้ามีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีทุกปีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ห้างร้านต่าง ๆ แต่ในส่วนของ ภาษีขายของออนไลน์ หรือภาษีอีเพย์เมนต์ (E-Payment) เกิดขึ้นเพราะรัฐต้องการเข้ามาแก้ไขปัญหาปิดช่องโหว่ของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ไม่เคยมีการเสียภาษีเลย ให้มีการเสียภาษีอย่างถูกต้องนั่นเอง และยังเป็นการเพิ่มความสะดวกในการนำส่งเงินภาษี ยื่นรายการหรือเอกสารที่เกี่ยวกับภาษีอากรอีกด้วย ซึ่งแน่นอนเอกสารที่ใช้สำหรับยื่นภาษีขายของออนไลน์ ก็คือเอกสารหลักฐานการค้าขายของออนไลน์นนั่นเอง จึงไม่ใช่เรื่องยากในการเตรียมเอกสารเลย สำหรับใครที่เข้าเงื่อนไขในการเสียภาษีขายของออนไลน์ อย่าลืมเตรียมตัวและเตรียมเอกสาร หลักฐานในการค้าขาย การทำธุรกรรมการเงินทุกอย่างให้พร้อม เพราะจะต้องนำไปใช้เพื่อยื่นแบบเสียภาษีขายของออนไลน์ได้อย่างถูกต้องต่อไปค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831, 063-150-5855