
จริงๆแล้ว ภาษีที่เรารู้จักนั้นมีหลากหลายประเภท เลยต้องมีการจำแนกประเภทของภาษีโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ และสำหรับหลักเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการแยกประเภทภาษีโดยแบ่งออกเป็นภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม แล้วภาษีเหล่านี้ใครบ้างเป็นคนจ่าย? สุดท้ายแล้วภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมจะนำไปใช้พัฒนาอะไรได้บ้าง เรารวมทุกข้อสงสัยมาให้แล้วที่นี่ครับ
ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมคืออะไร
ภาษีทางตรงเป็น ภาษีที่ทางรัฐได้เก็บจากได้ได้รวมถึงทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ภาษีทางอ้อมเป็น ภาษีที่ทางรัฐเก็บจากคนทั่วไปหรือเป็นผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นภาษีที่ผลักภาระให้กับคนที่ซื้อหรือคนที่บริโภคเป็นคนจ่ายค่าภาษีอากรแทนคนขาย โดยรัฐบาลได้เก็บเป็นภาษีทางอ้อมเพื่อมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนนต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนการศึกษา อีกทั้งสาธารณะสุขต่างๆ ตลอดจนถึงการใช้แบ่งให้งบประมานในแต่ละหน่วยงานต่างๆ
ประเภทของภาษีทางตรง
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป โดยเก็บเป็นรายปี ผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป ซึ่งรายได้ที่นำมาคำนวณภาษี มีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่
- เงินได้จากการจ้างแรงงาน
- เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ
- เงินได้จากค่าสิทธิ
- เงินได้จากการลงทุนในทรัพย์สิน (Capital Gain)
- เงินได้จากการให้เช่า
- เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
- เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 1.8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจหรือเงินได้อื่นๆได้นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้น
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคล ได้แก่ เงินได้ประเภทกำไรสุทธิ ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย หรือ การจำหน่ายเงินกำไรจากประเทศไทย โดยส่วนใหญ่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเป็นเวลา 12 เดือนหรือน้อยกว่า 12 เดือนแล้วแต่กรณี สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดอยู่ที่ 20% ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
3. ภาษีป้าย
ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า ด้วยตัวอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมาย
4. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการครอบครอง เป็นภาษีที่จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ทันสมัย ลดความซ้ำซ้อนของภาษีโรงเรือนกับภาษีเงินได้ และกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครอง หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สิน ในวันที่ 1 มกราคมของแต่ละปี ซึ่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคำนวณจาก
5. ภาษีมรดก
ภาษีมรดก เป็นภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกหรือทายาท เมื่อได้รับการโอนทรัพย์สิน
6. ภาษีทรัพย์สินต่างๆ
ภาษีทรัพย์สินต่างๆ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ครอบครองทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษี เช่น ภาษีรถยนต์
ประเภทของภาษีทางอ้อม
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ โดยเรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นคนสุดท้าย โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7%
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ กิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้
- กิจการธนาคาร
- ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
- ธุรกิจประกันชีวิต
- กิจการรับจำนำ
- การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นปล่อยกู้ ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนสกุลเงิน รับส่งเงินไปต่างประเทศเป็นต้น
- การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากำไร (ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใด)
- การขายหลักทรัพย์
- ธุรกิจแฟ็กตอริ่ง
3. อากรแสตมป์
อากรแสตมป์ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร ใน 28 ลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยมีการจัดพิมพ์อากรแสตมป์ในลักษณะเดียวกันกับตราไปรษณียากรแต่ต่างกันตรงที่อากรแสตมป์ไม่มีตราประทับ
วิธีการเสียอากร
- การใช้แสตมป์ปิดทับกระดาษ ก่อนหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้มีการขีดฆ่าแสตมป์
- การใช้แสตมป์ดุน เป็นการใช้กระดาษที่มีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและมีการขีดฆ่าแล้ว โดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงิน
- การชำระเป็นตัวเงิน คือการเสียค่าอากรเป็นตัวเงิน ในราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย
ในฐานะเราที่เป็นคนเสียภาษีไม่ว่าจะเป็นการเสียภาษีทางตรงหรือจะเป็นภาษีทางอ้อม ถือเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจเพราะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อที่เราจะต้องนำส่งภาษีได้อย่างถูกต้อง เพราะภาษีทุกอย่างที่เราได้เสียไป จะย้อนคืนกลับมาในรูปแบบของการพัฒนาประเทศเกือบทั้งหมด