
ภาษีต้องห้าม เป็นประเภทย่อยของภาษีซื้อตามกฎหมายแล้วจะไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือห้ามมีการขอคืนภาษีซื้อโดยเด็ดขาด แล้วภาษีต้องห้ามคืออะไร? ใครที่ควรจะรู้บ้าง ลองไปอ่านกันครับ
1. ภาษีซื้อต้องห้ามคืออะไร?
ภาษีต้องห้าม คือ ภาษีที่ผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เรียกกันว่า VAT โดยไม่สามารถหักออกจากภาษีขายในการคำนวณ VAT หรือห้ามนำภาษีต้องห้ามมาขอคืนภาษี จริงๆ แล้วตามกฎหมายได้กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ดังนี้
ใบกำกับภาษีสูญหาย ไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีได้
ในกรณีนี้เมื่อใบกำกับภาษีสูญหายหรือไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีได้ จะเป็นกรณีที่ได้รับบริการหรือได้ซื้อสินค้าจริงๆ แต่ไม่สามารถแสดงให้กับกรมสรรพากรได้ แต่มีวิธีแก้ไขได้ โดยการขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ที่ให้บริการหรือผู้ขายที่เราไปซื้อสินค้ามาแทนได้ เพื่อใช้แทนการนำไปหักภาษีหรือขอคืนภาษีซื้อ
ถ้าหากไม่มีใบกำกับภาษี เพราะว่าผู้ให้บริการหรือผู้ขายสินค้าให้กับเราไม่ออกใบภาษีให้เรา หรือออกใบกำกับภาษีแต่อาจจะเป็นชื่อคนอื่น
- กรณีที่ใบกำกับภาษีมีข้อความหรือเนื้อหาไม่ครบหรือไม่ถูกต้องในส่วนที่สำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของผู้ประกอบการหรือของผู้ประกอบการที่จด VAT แล้ว
- ภาษีซื้อที่เกิดจากการใช้จ่ายโดยมีการใช้จ่ายในลักษณะเดียวกัน
- ภาษีซื้อที่ออกตามใบกำกับภาษีแต่ออกโดยคนที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
- ภาษีซื้อตามประกาศจากกรมสรรพากรที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. อะไรคือเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม?
ตามปกติแล้วเมื่อผู้ประกอบการได้จดภาษีมูลค่าเพิ่มโดยนำภาษีซื้อต้องห้ามหักออกจากภาษีขายเพื่อมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีนั้นๆ ให้ครบถ้วน แล้วต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ตามข้อต่อไปนี้
1. เบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี
- ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
- ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
- ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
- ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
2. เบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี
กรณีนำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
- ผู้ประกอบการที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการเครดิตภาษี นอกจากต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้ว หากเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการเครดิตภาษีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 200,000 บาท
3. เงินเพิ่มใน ภาษีซื้อต้องห้าม
เงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีจากภาษีซื้อต้องห้าม
ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล: กรมสรรพากร
เป็นยังไงบ้างล่ะครับกับเรื่อง ภาษีซื้อต้องห้าม อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับบางคนที่เข้ามาอ่าน แต่ถ้าหากเราใส่ใจทุกเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีจะทำให้เราไม่พลาดข้อมูลดีๆ แบบนี้นะครับ
บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/
Facebook: facebook.com/kmcp.acc
สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc
LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc
Tel: 082-254-6831