ค่าเสื่อมราคา เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการควรรู้ละทำความเข้าใจ เพราะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง และยังมีผลต่อกำไรของกิจการอีกด้วย บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคากันค่ะ
หัวข้อเนื้อหา
ค่าเสื่อมราคา คืออะไร?
ค่าเสื่อมราคา หรือ (Depreciation Expense) คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องนำไปคิดคำนวณจากสินทรัพย์ถาวรของกิจการในแต่ละปี ส่วนมากอยู่ในรูปแบบของอุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูงและมีระยะการใช้งานหลายปี เช่น เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ อาคาร อุปกรณ์ต่าง ๆ หรือรถยนต์ เป็นต้น เมื่อนำมูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้มาคำนวณรอบเดียว จะทำให้ค่าใช้จ่ายรอบบัญชีสูงมาก จึงทำให้ต้องมีการคำนวณค่าเสื่อมราคา ตามระยะเวลาการใช้งานของสินทรัพย์แต่ละอันตั้งแต่วันที่เริ่มใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้การลงทุนมีความคุ้มค่านั่นเอง
ทำไมต้องมีการคิดค่าเสื่อมราคา?
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ค่าเสื่อมราคา คือค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่กิจการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายนี้ เพราะมักจะมีมูลค่าที่สูงมาก และยังมีผลต่อกำไรของกิจการมากเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและเข้าใจเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา เพื่อยังส่งผลต่องบกำไรขาดทุนของกิจการอีกด้วย
การคำนวณค่าเสื่อมราคามีกี่วิธี?
ปกติแล้วการคำนวณค่าเสื่อมราคา จะมีการคำนวณอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้นั่นก็คือ
1.วิธีคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง
โดยการนำราคาต้นทุนของอุปกรณ์นั้น ๆ ลบออกด้วยมูลค่าซาก หารด้วยอายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้น ตามสูตรดังนี้
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาต้นทุน – มูลค่าซาก) ÷ อายุการใช้งาน
ตัวอย่างการคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง
บริษัท ฮ. ซื้อรถสำหรับส่งสินค้า มูลค่า 500,000 บาท จำนวน 1 คัน มีมูลค่าซาก 50,000 บาท และรถคันนี้มีอายุการใช้งาน 10 ปี คำนวณค่าเสื่อมราคาได้โดย
ค่าเสื่อมราคาของรถส่งสินค้า = (500,000 – 50,000) ÷ 10 ปี = 45,000 บาท
วิธีคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีที่ใช้ในการคำนวณค่าเสื่อมราคา เช่น
2.ค่าเสื่อมราคาแบบจำนวนหน่วยการผลิตและจำนวนชั่วโมงการทำงาน
เป็นการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามสัดส่วนการใช้งานที่แท้จริง หมายความว่า ถ้าในปีใดที่มีชั่วโมงการใช้งานและมีการผลิตสูง ค่าเสื่อมราคาก็จะสูงตามขึ้นไปด้วย
3. วิธี DDB หรือ (Double – Declining Balance)
จะเป็นการคิดค่าเสื่อมราคา โดยคิดเป็น 2 เท่า ของวิธีคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง
4. วิธี SYD หรือ (Sum of Years’ Digits)
เป็นการคำนวณค่าเสื่อมราคา โดยนำสัดส่วนของจำนวนปีที่เหลือของอายุการใช้งาน หารด้วยจำนวนปีของอายุการใช้งานที่เหลือรวมกัน เช่น
- ปี 1 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 10 ปี
- ปี 2 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 9 ปี
- ปี 3 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 8 ปี
- ปี 4 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 7 ปี
- ปี 5 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 6 ปี
และคิดต่อไปแบบนี้ จนถึงปีที่ 10 ครบจำนวนอายุการใช้งาน
จำนวนปีของอายุการงานที่เหลือรวม = 10+9+8+7+6+5+4+3+2+1 = 5
- ค่าเสื่อมราคาปีที่ 1 เท่ากับ 10/55(1,000,000) = 181,181.2 บาท
- ค่าเสื่อมราคาปีที่ 2 เท่ากับ 9/55(1,000,000) = 163,686.4 บาท
- ค่าเสื่อมราคาปีที่ 3 เท่ากับ 8/55(1,000,000) = 145,454.5 บาท
- ค่าเสื่อมราคาปีที่ 4 เท่ากับ 7/55(1,000,000) = 127,272.7 บาท
- ค่าเสื่อมราคาปีที่ 5 เท่ากับ 6/55(1,000,000) = 109,090.9 บาท
และคิดต่อไปแบบนี้ จนถึงปีที่ 10 เช่นเดียวกัน
เมื่อสังเกตจากการคำนวณค่าเสื่อมราคาจะเห็นว่า ค่าเสื่อมราคา จะคิดจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ซื้อมาตั้งแต่เริ่มต้น เทียบกับมูลค่าซาก และระยะเวลาการใช้งานของสินทรัพย์นั้น ซึ่งจะทำการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการใช้สินทรัพย์นั้นแบบรายปี เพื่อให้ใกล้กับความเป็นจริงที่สุด เพื่อช่วยให้การทำงบกำไรขาดทุนให้เกิดความน่าเชื่อถือ และได้รับกำไรในแต่ละงวดได้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
หากไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา จะทำให้เงินที่ใช้ลงทุนซื้อสินทรัพย์จะกลับกลายเป็นค่าใช้จ่ายทันที ซึ่งกระทบกับงบกำไรขาดทุนมาก แม้ว่าจะมีกำไรเข้ามาในกิจการตลอด แต่หากมีการบันทึกค่าสินทรัพย์นั้นให้กลายเป็นค่าใช้จ่ายในครั้งเดียว จะทำให้เกิดการขาดทุนอย่างรุนแรง และขาดทุนระยะเวลานานหลายปีอีกด้วย เพราะว่าไม่มีการหักค่าเสื่อมราคานั่นเอง หวังว่าบทความนี้พอจะทำให้คุณเข้าใจภาพรวมของค่าเสื่อมราคามากขึ้นนะคะ
ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:
บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/
Facebook: facebook.com/kmcp.acc
สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc
LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc
Tel: 082-254-6831, 063-150-5855