fbpx

กยศ หักเงินเดือน ของพนักงานผ่านนายจ้างกี่เปอร์เซ็นต์ คำนวณยอดหักอย่างไร

กยศ หักเงินเดือน

หลายคนคงรู้จักและคุ้นเคยกับ กยศ. หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนและนักศึกษา ทั้งนี้สำหรับผู้ที่จบการศึกษาและทำงานในหน่วยงานเอกชน นายจ้างจะมีการหักเงินเดือนเพื่อส่ง กยศ หรือเรียกว่า กยศ หักเงินเดือน เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกยศ หักเงินเดือนกันค่ะ

กยศ หักเงินเดือน ผ่านนายจ้างหรือหน่วยงานคืออะไร

กยศ คือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เป็นกองทุนที่สร้างโอกาสทางการศึกษา โดยการสนับสนุนค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ ให้กับนักเรียนและนักศึกษาที่มีความจำเป็น โดยไม่คิดดอกเบี้ยระหว่างที่ศึกษาอยู่ แต่ต้องชำระเงินคืนหลังจากจบการศึกษาแล้ว ทั้งสำหรับพนักงานประจำที่เคยมีการกู้ยืมกยศ จะต้องมีการชำระเงินคืนโดยผ่านายจ้างหรือที่เรียกว่า กยศ หักเงินเดือน

กยศ หักเงินเดือน ผ่านนายจ้างหรือหน่วยงานนั้น คือ คือ วิธีการชำระหนี้เงินกู้ กยศ. หรือ กรอ.ตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.กยศ. พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลให้ผู้กู้ยืมทุกคนที่มีนายจ้างและมีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรต้องให้นายจ้างหักเงินเดือน เพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ

ขั้นตอนการหักเงินเดือนของพนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นผู้ยืมเงิน กยศ. ผ่านนายจ้าง 

โดยขั้นตอนการหักเงินเดือนของพนักงานที่เป็นลูกหนี้กยศ.ผ่านหน่วยงานหรือนายจ้างมีดังนี้

  1. กยศ. จะส่งหนังสือแจ้งหักเงินเดือนไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้กู้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน 
  2. กยศ. จะส่งหนังสือแจ้งให้นายจ้างทราบ ถึงข้อมูลของผู้กู้และจำนวนเงินที่ต้องหักนำส่งล่วงหน้าประมาณ 30 วัน
  3. นายจ้างสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ต้องหักและนำส่งผ่านระบบรับชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาผ่านกรมสรรพากร e-PaySLF โดยเข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ กยศ. การหักเงินเดือนตาม พ.ร.บ. กยศ. 2560 สำหรับการสมัครขอใช้ระบบ e-PaySLF มีขั้นตอนดังนี้

การสมัครเพื่อขอใช้ระบบ e-PaySLF

  1. เข้าเว็บไซต์ http://www.rd.go.th
  2. ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
  3. สมัครสมาชิก
  4. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมยื่นเอกสารที่กรมสรรพากร
  5. เพิ่มรายการ นำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ. ภ.อ.02

การนำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ.

การนำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ.
  1. เข้าสู่ระบบ e-PaySLF เพื่อดูรายชื่อและจำนวนเงินที่ต้องหักจากระบบ
  2. บันทึกรายการและจำนวนเงินที่หักได้เข้าสู่ระบบ
  3. พิมพ์ชุดชำระ (Pay in slip) เพื่อนำไปชำระตามช่องทางที่กำหนด
  4. เมื่อหักเงินเรียบร้อยแล้วให้นำส่งภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป

ทั้งนี้หากนายจ้างพบว่ารายชื่อพนักงานหรือลูกจ้างในระบบ e-PaySLF มีพนักงานหรือลาออก หรือโอนย้าย พักการจ้างด้วยสาเหตุอื่นๆ หรือปิดบัญชีชำระหนี้ ทำให้ไม่สามารถหักเงินเดือนได้ นายจ้างจะต้องแจ้งสาเหตุให้กองทุนทราบผ่านระบบ e-PaySLF ได้เลย

หากนายจ้างหรือหน่วยงานไม่หักเงินเดือนลูกจ้างที่ ติดหนี้ กยศ. จะเป็นอย่างไร

นายจ้างหรือหน่วยงานเอกชนจะต้องมีการนำส่งเงินกู้ยืมเงินกยศ. หากนายจ้างไม่มีการหักเงินเดือน หรือหักแล้วแต่ไม่มีการนำส่งหรือส่งไม่ครบตามที่กยศ.แจ้งไว้ จะต้องชดใช้เงินที่ต้องนําส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจํานวนเงินที่ยังไม่ได้นําส่งหรือตามจํานวนที่ยังขาดไป  ทั้งนี้นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดต้องนําส่ง หากนายจ้างได้หักเงินเดือนของผู้กู้ยืมเงินไว้แล้วให้ถือว่าผู้กู้ยืมเงินได้ชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามจํานวนที่ได้หักไว้แล้วนั่นเอง

แต่ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ยินยอมให้กยศ หักเงินเดือนผ่านนายจ้าง ให้พนักงานหรือลูกจ้างติดต่อกองทุนโดยตรง ผ่านช่องทางการติดต่อขององค์กรนายจ้างเบอร์โทรศัพท์ 064 587 0102 – 08 / 064 587 0124 -32 / 081 235 0712 – 21 / 081 235 0723 -32 

LINE : กยศ.องค์กรนายจ้าง คลิกลิงก์ https://lin.ee/Hwg0DCW.  หรืออีเมล slf-debt@studentloan.or.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่อธิบายรายละเอียดแก่ผู้กู้ยืมเงินในการเข้าสู่ระบบการหักเงินเดือนผ่านองค์กรนายจ้าง

การคำนวณยอดหักเงินเดือน คิดอย่างไร

ในการคำนวณยอดหักเงินเดือน สำหรับกยศ หักเงินเดือนนั้นจะแบ่งผู้กู้ยืมเงินออกเป็น 2 กรณีคือ

ผู้กู้ยืมเงินที่มีงวดการชำระเป็นรายปี

กยศ.จะนำงวดชำระรายปี มาคำนวณใหม่ให้เป็นรายเดือน โดยนำยอดหนี้ที่ต้องชำระในงวดปีถัดไปมาหาร 12 เดือน หรือจำนวนเดือนที่เหลือก่อนถึงวันครบกำหนดชำระในงวดถัดไป  เช่น การหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ในงวดวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 กองทุนจะแจ้งหักเงินเดือนโดยใช้ยอดหนี้ตามตารางผ่อนชำระรายปีงวด 2566 หารด้วยจำนวนเดือน (12 เดือน) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 จนถึงเดือนมิถุนายน 2566 และในงวดปีถัดไปจะเริ่มหักเงินเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมของทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมเงินที่ไม่สามารถชำระตามอัตราที่แจ้ง สามารถขอปรับลดจำนวนเงินได้โดยแจ้งความประสงค์ขอลดจำนวนการหักเงินเดือนได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” โดยกองทุนอนุโลมให้ชำระขั้นต่ำเพียง 100 บาท แต่ผู้กู้ยืมเงินยังมีหน้าที่ต้องไปชำระเงินในส่วนที่ขาดไปของงวดนั้นให้ครบตามจำนวนที่ต้องชำระก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้รายปี

ผู้กู้ยืมเงินที่มีงวดการชำระเป็นรายเดือน

ตามที่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อนฟ้องคดี หรือสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล กองทุนจะแจ้งหักเงินดือนตามจำนวนที่ได้ตกลงไว้ทุกเดือน จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น

ช่องทางการติดต่อ กยศ หักเงินเดือน

การติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายบริหารหนี้ 2 เลขที่ 89 อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ชั้น 5-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

  1. โทรศัพท์ : 064-587-0102 ถึง 08 / 064-587-0124 ถึง 32 / 081-235-0712 ถึง 21 / 081-235-0723 ถึง 32
  2. อีเมล : slf-debt@studentloan.or.th
  3. LINE : กยศ.หักเงินเดือน คลิกลิงก์ https://lin.ee/oecrHbM
  4. กยศ.องค์กรนายจ้าง คลิกลิงก์ https://lin.ee/Hwg0DCW

บทความนี้พอจะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ กยศ หักเงินเดือน พนักงานผ่านนายจ้างเพื่อชำระเงินกู้เพื่อการศึกษา ช่วยให้ผู้กู้ยืมสามารถคืนเงินได้ครบตามกำหนดและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับน้องนักเรียนนักศึกษารุ่นต่อไป เพื่อจะได้มีทุนในการศึกษาเล่าเรียนและช่วยให้นายจ้างปฏิบัติตามขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมได้อย่างถูกต้องต่อไปได้ค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831