การปิดงบการเงิน เป็นการจัดการกับงบการเงินเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี ต้องมีการดำเนินการปิดงบบัญชีเพื่อนำส่งสรรพากรตามกฎหมายกำหนด แต่หากผู้ทำบัญชี ไม่สามารถยื่นงบการเงินได้ทัน จะมีผลกระทบอย่างไร เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงินกันค่ะ
หัวข้อเนื้อหา
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงิน
งบการเงิน คือ รายงานการเงินและบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ เพื่อให้รู้ถึงสถานะการเงิน ผลการดำเนินงาาน รวมไปถึงฐานะทางการเงินของกิจการ ในการยื่นงบการเงินของนิติบุคคลแต่ละประเภท มีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี
ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของปีถัดไป
2. บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องจัดทำงบการเงินเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบบัญชี จากนั้นนำไปเสนอในที่ประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติ โดยจะต้องจัดการประชุมภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี
ดังนั้นรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป (มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท)
การปิดงบการเงิน คือ การจัดการกับงบการเงิน เมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชีจะต้องปิดงบการเงินเพื่อนำส่งสรรพากรตามกฎหมายกำหนด หากไม่ยื่นงบการเงิน ไม่ส่งงบการเงิน จะมีโทษปรับตามกฎหมายด้วย
2. ปิดงบการเงิน คืออะไร?
หากใครเปิดบริษัทหรือเป็นนักบัญชีจะต้องรู้ว่าการปิดงบการเงินนั้นคืออะไร แท้จริงแล้ว งบการเงินคือรายงานการเงินและบัญชี ที่เกี่ยวกับบริษัทของเรา เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานธุรกิจทั้งหมด รวมถึงผลประกอบการการดำเนินกิจการ และฐานะทางการเงินของบริษัท ในทุกๆ ปีหรือทุกๆ เดือน จะต้องมีการปิดงบการเงิน เมื่อถึงรอบในการทำบัญชี จึงจะต้องปิดงบการเงินเพื่อนำส่งสรรพากรและกรมพัฒฯ ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย
3. หากไม่ยื่นงบการเงิน จะมีโทษปรับอย่างไร?
นิติบุคคลจะต้องมีการปิดงบการเงินครั้งแรกภายใน 1 ปี และจะต้องปิดงบการเงินต่อไปทุกปี ให้ตรงกับเดือนเดิมที่มีการปิดงบการเงิน หากไม่ยื่นงบการเงิน เพราะมีการนำส่งล่าช้า หรือมีเจตนาที่จะไม่ยื่นงบการเงิน จะมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไปจนถึงจำคุก โดยมีอัตราค่าปรับที่จะต้องจ่ายให้ 2 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือ หมายเรียกตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และกรมสรรพากร
1. กรณีไม่ยื่นงบการเงิน หรือ ยื่นงบการเงินล่าช้ามากกว่า 4 เดือนขึ้นไป
จะปรับทั้งผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือ กรรมการผู้จัดการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ไม่เกิน 12,000 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี
โดยค่าปรับกรณีไม่ยื่นงบการเงินนี้ จะมีอายุความ 1 ปี นับตั้งแต่วันครบกำหนดยื่นงบการเงิน
2. กรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน
จะมีโทษปรับทั้งผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือ กรรมการผู้จัดการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ไม่เกิน 8,000 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี
3. กรณียื่นงบล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน
จะมีโทษปรับทั้งผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือ กรรมการผู้จัดการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ไม่เกิน 2,000 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี
*กรณีไม่มีการนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการ คนละ 2,000 บาท
ต้องเสียค่าปรับให้กรมสรรพากรกี่บาท?
1. กรณีไม่ยื่นงบการเงิน จะมีค่าปรับอาญา 2,000 บาท
2. หากมีการยื่นแบบล่าช้าในระยะเวลาเกิน 7 วัน มีค่าปรับ 2,000 บาท
3. หากมีการยื่นแบบล่าช้าไม่เกินเกิน 7 วัน มีค่าปรับ1,000 บาท
*กรณีที่มีภาษีที่ต้องชำระ จะมีเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน โดยเศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน
โดยค่าปรับมีอายุความ 1 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดยื่นงบการเงิน
การยื่นงบการเงินมีความสำคัญต่อกิจการนิติบุคคล หากไม่มีการยื่นงบการเงิน หรือมีการหลีกเลี่ยงการยื่นงบการเงิน จะมีโทษตามกฎหมายอีกด้วย เพราะฉะนั้นควรมีการยื่นงบการเงินอย่างถูกต้อง ตรงเวลา เพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียค่าปรับนั่นเองค่ะ
ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:
บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/
Facebook: facebook.com/kmcp.acc
สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc
LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc
Tel: 082-254-6831, 063-150-5855