fbpx

ฟังทางนี้ เช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ด้วยตัวเอง ทุกมาตรา!

เช็คสิทธิประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม ถือเป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน โดยเราจะเห็นว่าสิทธิประกันสังคมนั้นมีหลายมาตราทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 เราจะพามา เช็คสิทธิประกันสังคม เพียงใช้เลขบัตรประชาชนของคุณเท่านั้น มาดูกันว่ามีขั้นตอนการเช็คประกันสังคมและสิทธิที่ได้รับนั้นมีอะไรบ้าง

เช็คสิทธิประกันสังคม ทำอย่างไร

เช็คสิทธิประกันสังคม ทำอย่างไร

ประกันสังคม เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน ทั้งเรื่องของสุขภาพ ครอบครัว การว่างงานและการมีเงินก้อนในในยามเกษียณ  ทั้งนี้เมื่อคุณเป็นผู้ประกันตนแล้วจำเป็นจะต้องรู้สิทธิประกันสังคมของตัวเอง เพื่อจะได้ใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง สำหรับสิทธิประกันสังคมนั้น แบ่งออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา โดยผู้ประกันตนนั้นสามารถเช็คสิทธิประกันสังคมของตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีขั้นตอนการเช็คสิทธิประกันสังคมดังนี้

1. สมัครสมาชิกผู้ประกันตนออนไลน์

  1. ก่อนอื่นผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 จะต้องสมัครสมาชิกผู้ประกันตนผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th กดเลือก สมัครสมาชิก
  2. คลิก ยอมรับ ข้อตกลงทุกอย่างที่ผู้ประกันตนควรรู้
  3. กรอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองให้ครบทุกช่อง
  4. เลือกวิธีการเพื่อยืนยันตัวตน และนำรหัส OTP เพื่อยืนยันข้อมูล
  5. หากลงทะเบียนสำเร็จแล้ว สามารถเข้าเช็คสิทธิประกันสังคมโดยใช้เลขประจำตัวประชาชนได้เลย

2. เช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม

  • เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th กรอกรหัสผู้ใช้งานที่ได้ลงทะเบียนไว้จากข้อแรก เพื่อเข้าสู่ระบบ
  • เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะแสดงข้อมูลของผู้ประกันตน ผู้ประกันตนสามารถเช็คสิทธิประกันสังคมของตัวเองได้เลย

3. เช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ แอปพลิเคชัน SSO Connect

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect
  2. กรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ
  3. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะแสดงข้อมูลของผู้ประกันตน เช่น ชื่อนามสกุล โรงพยาบาลที่ใช้สิทธิประกันสังคม ยอดเงินสมทบชราภาพ และสิทธิทำฟันประกันสังคม เป็นต้น

สิทธิประกันสังคมแต่ละมาตรา ได้รับสิทธิอะไรบ้าง

สิทธิประกันสังคมแต่ละมาตรา ได้รับสิทธิอะไรบ้าง

อย่างที่เราได้บอกไปแล้วข้างต้นว่า ผู้ประกันตนของประกันสังคมนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรา ได้แก่ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งแต่ละมาตรานั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ใครบ้างที่มีสิทธิเป็นผู้ประกันตนในแต่ละมาตรา แล้วมีข้อมูลมาอธิบายให้เข้าใจดังนี้

เช็คสิทธิประกันสังคม มาตรา 33

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทหรือลูกจ้าง ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยต้องส่งเงินสบทบคิดเป็นสัดส่วน ลูกจ้าง 5% นายจ้าง 5% รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินเดือนค่าจ้าง โดยจะได้รับความคุ้มครองได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน 

เช็คสิทธิประกันสังคม มาตรา 39

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน ซึ่งมีการจ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน และต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม โดยผู้ประกันตนส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน รัฐบาลสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน โดยจะได้รับความคุ้มครองได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ 

เช็คสิทธิประกันสังคม มาตรา 40

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ที่ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33  มาตรา 39 หรือข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 แต่ไม่เกิน 60 ปี โดยสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

  • ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี)
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี)
  • เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต)

2. ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน 

  1. ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี)
  2. ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี)
  3. เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต)
  4. ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)

3. ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

  1. ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 90 วัน/ปี)
  2. ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ตลอดชีวิต)
  3. เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  4. ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)
  5. สงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตร 200 บาท/คน/เดือน (ครั้งละไม่เกิน 2 คน)

เช็คสิทธิประกันสังคม สามารถได้ด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ และแอปพลิเคชั่นสำนักงานประกันสังคม เพียงใช้เลขบัตรประชาชน ก็สามารถเช็คสิทธิประกันสังคมที่ตนได้รับได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะว่างงาน เจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ ผู้ประกันตนก็ยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้นั่นเองค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831