fbpx

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หจก. เปรียบเทียบ บริษัท แบบไหนดีกว่า?

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หจก. เปรียบเทียบ บริษัท แบบไหนดีกว่า

ในการทำธุรกิจจะมักรูปแบบของกิจการที่เรามักพบกันอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ หจก. และ บริษัทจำกัด ซึ่งการเลือกรูปแบบกิจการแต่ละแบบให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการนั้น จะต้องพิจารณาจากทรัพยากรที่มี เงินทุน แนวทางการดำเนินกิจการ ซึ่งเรามักจะเห็นกิจการรูปแบบหนึ่งที่มีอย่างแพร่หลาย นั่นก็คือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ หจก. นั่นเอง

หัวข้อเนื้อหา

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ หจก. คืออะไร?

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) หรือ Partnership ตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า ”อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น” โดยมีการลงทุนด้วยเงินสด ลงทุนด้วยทรัพย์สิน หรือลงทุนด้วยแรงงานและความรู้ความสามารถ เป็นต้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กิจการห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

ห้างหุ้นส่วนสามัญห้างหุ้นส่วนจำกัด
จำนวนผู้ถือหุ้นมีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ
สิทธิของผู้ถือหุ้นผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน
แหล่งทุนทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้
การจดทะเบียนจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
การชำระหนี้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ
การสิ้นสุดการถือหุ้นเมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ตาย ลาออก หรือล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ

ความรับผิดชอบของ หุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

1.หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด

หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด เป็นหุ้นส่วนประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเพียงไม่เกินจำนวนที่ตนรับลงทุนในห้างหุ้นส่วนท่านั้น หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มีสิทธิออกความเห็น เป็นที่ปรึกษาและทุนที่นำมาลงทุนต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น

2.หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด

หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เป็นหุ้นส่วนประเภทที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน ไม่ว่าจะลงทุนมากหรือน้อย กฎหมายระบุว่าต้องมีหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัด

ความรับผิดชอบของ หุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

อยากจดจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) ต้องทำอย่างไร?

1.ทำความตกลงในเรื่องสำคัญกันก่อน

เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งในภายหลัง โดยตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินลงทุน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ซึ่ง 2 อย่างหลังนี้ต้องตีราคาออกมาเป็นจำนวนเงิน กำหนดระยะเวลาชำระเงิน ต้องมีการชำระให้ครบก่อนจดทะเบียนจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อจะได้ดำเนินกิจการได้อย่างตามแนวทางชัดเจน ไม่เสียเวลาในการจดทะเบียนเพิ่มในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการแบ่งส่วนผลกำไร-ขาดทุน และเรื่องอื่นๆ

2.ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด

เพราะในปัจจุบันมีกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) หรือบริษัทจำกัดหลายแห่ง อาจทำให้มีการตั้งชื่อกิจการที่คล้ายคลึง ซ้ำซ้อนกัน หรืออาจขัดต่อดระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท จึงจะต้องมีการตรวจสอบชื่อเสียก่อน

3.จัดทำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ

หลังจากที่ผ่านขั้นตอนการจองชื่อเรียบร้อยแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องจัดทำตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ถูกต้อง

4.การยื่นขอจดทะเบียน

โดยสามารถยื่นขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารต่อนายทะเบียน หรือ ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเตอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th ซึ่งวิธีนี้นายทะเบียนจะตรวจคำขอจดทะเบียนและมีการตอบรับว่าคำขอถูกต้องแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องทำการสั่งพิมพ์เอกสารให้หุ้นส่วนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน และนำไปยื่นที่ที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือส่งทางไปรษณีย์ โดยมีสถานที่จดทะเบียนได้แก่ สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 เขตสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น หรือยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ห้างหุ้นส่วนมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ หรือยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต ที่ www.dbd.go.th

อยากจดจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) ต้องทำอย่างไร?

ข้อดีของห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

1.เนื่องจากมีหุ้นส่วนร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำให้มีเงินทุนมากกว่ากิจการเจ้าของเพียงคนเดียว นอกจากเงินทุนแล้ว ยังสามารถนำเอาความรู้ความสามารถของหุ้นส่วนแต่ละคน ช่วยกันระดมสมองเพื่อพัฒนากิจการร่วมกัน

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) จัดตั้งง่ายเพียงการทำสัญญาระหว่างผู้ที่เป็นหุ้นส่วนแล้ว และสามารถยกเลิกได้ง่ายเช่นเดียวกัน

3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) มีหุ้นส่วนหลายคน ทำให้ลดการแบกรับความเสี่ยงแต่เพียงคนเดียว

4.ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) มีความน่าเชื่อถือและมีเครดิตดี เนื่องจากผู้เป็นหุ้นส่วนจะรับผิดชอบในหนี้สินและภาระต่างๆ ไม่จำกัด ถือเป็นหลักประกันที่มั่นคงด้วย

5.ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) สามารถหาคนหรือชักชวนที่มีความรู้ความสามารถ มาร่วมกิจการในห้างหุ้นส่วนได้

ข้อดีของห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

1.เนื่องจากหุ้นส่วนแต่ละจะต้องรับผิดชอบหนี้สินได้ไม่จำกัดจำนวน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะกระทบกับทรัพย์สินส่วนตัว ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบเท่านั้น

2.การดำเนินงาน ตัดสินใจอาจมีความล่าช้า เนื่องจากหุ้นส่วนพวกรับผิดชอบโดยไม่จำกัดจำนวน จะต้องทำการพูดคุย ปรึกษา หารือกันก่อน

3.ห้างหุ้นส่วนต้องเลิก เมื่อมีการตายหรือลาออกของหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง

4.การถอนหุ้นอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากต้องได้รับความเห็นชอบจากหุ้นส่วนคนอื่นด้วย

5.การกระทำของหุ้นส่วนเพียงคนเดียวในทางลบ อาจทำให้มีผลกระทบต่อหุ้นส่วนที่เหลือทุกคน

ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) กับ หน้าที่ทางด้านบัญชีและภาษี มีอะไรบ้าง?

ด้านภาษี หจก. มีหน้าที่ปฏิบัติตามภาษีไม่ต่างจากนิติบุคคลอื่น ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ (ถ้ามี) ส่วนด้านบัญชี หจก. มีหน้าที่นำส่งงบการเงินเป็นประจำทุกปีเช่นเดียวกันกับนิติบุคคลอื่น

สำหรับการทำงบการเงิน หจก.จะต้องว่าจ้างผู้ทำบัญชี (ขึ้นทะเบียนกับทางสภาวิชาชีพ) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอาการ (ขึ้นทะเบียนกับทางกรมสรรพากร) เพื่อมาจัดทำ ตรวจสอบ และนำส่งงบการเงินให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) กับ กิจการเจ้าของคนเดียว แบบไหนดีกว่ากัน?

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) มีความได้เปรียบกว่ากิจการเจ้าของคนเดียวตรงที่นอกจากจะมีแหล่งทุนที่มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนแล้ว ยังสามารถนำความรู้ความสามารถที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาช่วยระดมสมอง ช่วยคิด วางแผนเพื่อให้หจก.สามารถดำเนินงานได้อย่างสำเร็จ รวมไปถึงในเรื่องของแรงงานด้วย ยกเว้นพวกหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด รวมไปถึงความน่าเชื่อถือที่มีมากกว่ากิจการเจ้าของเพียงคนเดียว แต่ทก็ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของทรัพย์สินส่วนตัว หากเกิดปัญหาที่จะต้องรับผิดชอบหนี้สิน รวมไปถึงการตัดสินใจเรื่องก็ตามจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหุ้นส่วนคนอื่นด้วย

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) กับ จดทะเบียนบริษัท แบบไหนดีกว่ากัน?

หากเมื่อเทียบการจดทะเบียนระหว่าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) กับ บริษัท การจดทะเบียนแบบบริษัท จะมีข้อดีในเรื่องของด้านภาษีและด้านบัญชี  รวมไปถึงการชำระหนี้ผู้ถือหุ้นในบริษัททุกคนจะรับผิดชอบจำกัด เจ้าหนี้ไม่สามารถเก็บหนี้จากเงินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้ ส่วนเรื่องการทำบัญชี ภาษีและการสอบบัญชีจะเหมือนกันกับหจก.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) กับ จดทะเบียนบริษัท แบบไหนดีกว่ากัน?

ทั้งนี้เลือกรูปแบบกิจการให้เหมาะกับกิจการ จะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดตามมาในภายหน้าได้ แต่หากเลือกจดทะเบียนกิจการแล้วการจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัทจำกัดจะมีข้อดีกว่าการจดทะเบียนในรูปแบบของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) แต่ทั้งนี้เลือกรุปแบบกิจการให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาในการดำเนินกิจการในอนาคตได้ค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831, 063-150-5855