
ในการดำเนินกิจการจะต้องมีการตรวจสอบบัญชีก่อนส่งงบการเงิน โดย ผู้ตรวจสอบบัญชี อิสระที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท แล้วผู้ตรวจสอบบัญชีคือใคร ทำหน้าที่อย่างไร เรามีคำอธิบายเพิ่มเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบบัญชีมาฝากกันค่ะ
ผู้ตรวจสอบบัญชี คือใคร

ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ Auditors หรือ CPA (ย่อมาจาก Certified Public Accountant) คือผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตในการทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีกี่ประเภท
หลายคนอาจจะมีความเข้าใจว่าผู้ตรวจสอบบัญชี ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินประจำปี ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ตรวจสอบบัญชี ยังมีผู้ตรวจสอบบัญชีประเภทอื่น โดยแบ่งผู้ตรวจสอบบัญชีออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax Auditor)

เป็นผู้ตรวจสอบตามกฎหมาย(Statutory Auditor) ซึ่งเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 สามารถตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินของบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ เป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2554 โดยผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรสามารถตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนหรือทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
1.1 หน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร
ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กและออกรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยปฏิบัติงานตามแนวทางและวิธีการตรวจสอบที่กรมสรรพากรกำหนด โดยใช้วิธีการทดสอบและวิธีการตรวจสอบอื่นที่เหมาะสม นอกจากการตรวจสอบงบการเงินว่าตรงตามสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว ยังต้องตรวจสอบว่ากิจการได้ปรับปรุงกำไร(ขาดทุน)สุทธิเพื่อเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
2. ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป (CPA : Certified Public Accountant)

เป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2554 โดยผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรสามารถตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนหรือทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
2.1 หน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชีทั่วไป
ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินสำหรับกิจการที่เป็นนิติบุคคล โดยปฎิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี มีความเป็นอิสระตามข้อกำหนดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและมีเกณฑ์การแสดงความเห็นจากความเพียงพอและเหมาะสมของหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับ
3. ผู้สอบบัญชีตลาดทุน (List of Auditors Approved by the office of SEC)

เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายในให้แก่องค์กรอย่างเป็นอิสระ รวมทั้งการประเมินประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กร มีการควบคุมและกำกับดูแลกิจการอย่างเป็นระบบ ผู้ตรวจสอบภายในเป็นได้ทั้งพนักงานขององค์กรหรือบุคคลภายนอก(Outsource) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหาร
4. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditors) หรือ IA

หมายถึงผู้สอบบัญชีสำหรับ บริษัทที่อยู่ในตลาดทุน,บริษัทที่ยื่นขอจดทะเบียนในตลาดทุน (IPO),กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น โดยไม่ใช่การตรวจสอบงบการเงินและบัญชี
อยากเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี CPA ต้องทำอย่างไร
ผู้ตรวจสอบบัญชีนอกจากจะมีทักษะทางวิชาชีพการบัญชีแล้ว ยังจำเป็นจะต้องมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ การวางแผนการทำงาน การสื่อสาร รวมไปถึงทักษะการใช้โปรแกรม ทั้งนี้เมื่อเข้ารับการศึกษาต่อในหลักสูตรบัญชีบัณฑิตแล้วเมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถฝึกหัดงานสอบบัญชีเพื่อสอบจากนั้นขอรับอนุญาตจากสภาวิชาชีต่อไป โดยคุณสมบัติและเส้นทางของการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป และ ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอาการมีดังนี้
1. ระดับวุฒิการศึกษา
- อยู่ในระหว่างการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านการบัญชี และต้องสอบผ่านตามหลักเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
- สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าทางบริหารธุรกิจพาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีพิจารณาเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี
2. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
3. อบรมบัญชีออนไลน์ เก็บชั่วโมง CPD และ CPA
ผ่านการฝึกหัดงานสอบบัญชีกับผู้ให้การฝึกหัดงานที่ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี นับจากวันยื่นคำขอแจ้งการฝึกงานและมีเวลาฝึกหัดงานรวมกันไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง
4. ผ่านการสอบ
ผ่านการทดสอบ 6 รายวิชา ได้แก่ วิชาการบัญชี 1 วิชาการบัญชี 2 วิชาการสอบบัญชี 1 วิชาการสอบบัญชี 2 วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 1 วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 2
5. ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อสภาวิชาชีพบัญชี
6. รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี
รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ส่วนผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร จะต้องผ่านการทดสอบตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
หลังจากที่ผู้ตรวจสอบบัญชีได้รับใบอนุญาตแล้ว จะต้องมีการเก็บชั่วโมงอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ 40 ชั่วโมงต่อปีโดยยื่นแจ้งภายในสิ้นปี โดยการอบรมที่ผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องเข้าร่วมเพื่อพัฒนาความรู้ เช่น การสัมมนาความรู้ทางด้านบัญชีหรือการสอบบัญชี ความรู้ที่เกี่ยวกับธุรกิจและวิชาชีพ การเป็นวิทยากรผู้บรรยาย การเขียนบทความทางวิชาการหรือบทความต่าง ๆ เผยแพร่แก่สาธารณชน เป็นต้น
ผู้ตรวจสอบบัญชี ไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินประจำปีเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่การทำงานอื่นที่แตกต่างกันไปอีกตามประเภทผู้ตรวจสอบบัญชีที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ทั้งนี้เจ้าของบริษัทควรจะเลือกผู้ตรวจสอบบัญชีให้ตรงกับรูปแบบกิจการและผู้ตรวจสอบบัญชีนั้นจะต้องได้รับอนุญาต และผู้ตรวจสอบบัญชีเองจะต้องทำงานอย่างอิสระ มีความน่าเชื่อถือ ช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องอีกด้วยค่ะ
ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:
บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/
Facebook: facebook.com/kmcp.acc
สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc
LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc
Tel: 082-254-6831