การที่เจ้าของธุรกิจตัดสินใจจดทะเบียนบริษัท ถือเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการของตนเอง เพื่อให้ดำเนินกิจการได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อวันหนึ่งที่ผู้ถือหุ้นตัดสินใจเลิกบริษัท จำเป็นจะต้องมีการ จดทะเบียนเลิกบริษัท อย่างถูกต้องเช่นเดียวกัน ส่วนจะต้องดำเนินการอย่างไร เรามีคำอธิบายมาฝากกันค่ะ
หัวข้อเนื้อหา
จดทะเบียนเลิกบริษัท เกิดจากสาเหตุใดบ้าง
เราเคยได้อธิบายเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท ว่ามีความสำคัญต่อกิจการในเรื่องของความน่าเชื่อถือเป็นหลัก รองลงมาคือในเรื่องของการจ่ายภาษี และการได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เป็นต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของบริษัทประสงค์จะเลิกกิจการหรือปิดบริษัทลง จำเป็นจะต้องมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทอย่างถูกต้อง ซึ่งการจดทะเบียนเลิกบริษัทมีขั้นตอนยุ่งยากสักหน่อยเมื่อเทียบกับตอนที่จดทะเบียนบริษัทตั้งหรือตอนที่เปิดบริษัทใหม่นั่นเอง ทั้งนี้การจดทะเบียนเลิกบริษัท จะสามารถทำเรื่องได้นั้นก็ต่อเมื่อมีสาเหตุของการเลิกบริษัทหรือปิดบริษัทดังนี้
1. การเลิกบริษัทโดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น
ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ประชุมกันและลงมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมด ว่าต้องการเลิกบริษัทโดยมีการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นด้วย
2. การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมาย
การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายนั้นเกิดจากถึงระยะเวลาสิ้นสุดที่ต้องเลิกบริษัทเพราะมีการกำหนดระยะเวลาเปิดและปิดบริษัทไว้ หรือบริษัทนั้นเปิดขึ้นเพื่อทำกิจการหนึ่งเมื่อสำเร็จแล้วก็ต้องเลิกบริษัทลง และสุดท้ายคือบริษัทล้มละลาย
3. การเลิกบริษัทโดยคำสั่งศาล
ศาลมีคำสั่งให้เลิกบริษัทได้อันเรื่องมาจาก ผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน บริษัทขาดทุนตลอดปี บริษัทไม่ทำธุรกิจภายใน 1 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน หรือ มีการประชุมตั้งบริษัทและยื่นรายงานประชุมผิดวิธีที่กฎหมายกำหนด
ต้องการจดทะเบียนเลิกบริษัท ทำอย่างไรบ้าง?
- จัดทำหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และส่งเอกสารเพื่อให้มีมติพิเศษในการเลิกบริษัทให้กับผู้ถือหุ้นโดยตรง
- ลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้ง
- จัดประชุมผู้ถือหุ้นทุกคน โดยให้ลงมติพิเศษคะแนนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่มาประชุม และต้องมีการพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีด้วย
- หลังจากประชุมเสร็จเรียบร้อยจะต้องประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง
- จัดทำเอกสารยื่นจดเลิกกิจการ และนำเอกสารไปจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วัน
จัดทำงบการเงิน ยื่นภาษี ก่อนจดเลิกบริษัท
หลังจากที่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว สิ่งที่สำคัญในขั้นตอนต่อมาคือการทำงบการเงินและยื่นภาษีให้ครบถ้วน โดยในขั้นตอนนี้บริษัทอาจจะต้องให้นักบัญชีเข้ามาช่วยเพื่อความถูกต้อง ไม่ตกหล่น โดยมีรายละเอียดในการจัดทำงบการเงินและยื่นภาษีดังนี้
- งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการให้ผู้ทำบัญชีทำและเซ็นรับรองโดยผู้สอบบัญชี สำหรับบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด
- นำส่งแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล
- นำส่งแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- บริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำส่งแบบ ภพ.30 จนกว่าจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” จากกรมสรรพากร นอกจากนี้จะต้องแจ้งยกเลิกาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากรภายใน 15 วันหลักจากจดทะเบียนเลิกบริษัทเพื่อไม่ให้เสียค่าปรับ
- หากมีบัญชีดอกเบี้ยค้างรับ หรือดอกเบี้ยรับ ในงบการเงิน จะต้องนำส่งแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องยื่น ภพ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่จดทะเบียนเลิกบริษัท
ใครบ้างมีหน้าที่ในการจดทะเบียนเลิกบริษัท
เนื่องจากการจดทะเบียนเลิกบริษัทมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ดังนั้นการจดทะเบียนเลิกบริษัทสามารถให้สำนักงานบัญชีเข้ามาดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเลิกบริษัท และประสานงานกับหน่วยงานรัฐ ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม เพื่อดำเนินการเลิกบริษัทต่อไป
หากผู้ถือหุ้นมีความประสงค์จะเลิกบริษัท จำเป็นจะต้องมีการ จดทะเบียนเลิกบริษัท อย่างถูกต้อง ต้องมีการเตรียมข้อมูล เอกสารให้ครบส่วนในการดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัท ทำงบการเงิน สามารถให้นักบัญชีเข้ามาช่วยดำเนินการได้เลยค่ะ
ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:
บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/
Facebook: facebook.com/kmcp.acc
สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc
LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc
Tel: 082-254-6831