fbpx

ข้อควรรู้ก่อนเขียน ใบลาออก ต้องเขียนยังไง?

ใบลาออก

การเขียนใบลาออก เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกันเช่นเดียวกัน ซึ่งหลายคนมักจะเคยได้ยินว่า ต้องเขียนใบลาออกล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน จริงหรือไม่ ในโลกของการทำงานนั้น การลาออกจากงาน ถือเป็นเรื่องปกติโดยทั่วไปที่หลายคนอาจเคยเจอ แต่ก่อนที่คุณจะลาออกจากที่ทำงานเดิม วันนี้เราคำตอบมาฝากกันค่ะ

ข้อควรรู้ก่อนเขียน ใบลาออก

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การลาออกจากงานถือเป็นเรื่องปกติสำหรับชีวิตการทำงานของทุกคน บางคงอาจจะทำงานอยู่ที่เดิมมานานหลายสิบปี บางคนอาจจะเปลี่ยนที่ทำงานใหม่อยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลของแต่ละคน แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดที่ทำให้คุณต้องลาออกจากงาน ไม่ว่าจะอยากเปลี่ยนที่ทำงานเพราะได้งานใหม่ที่ดีกว่า อยากปรับเงินเดือน ย้ายที่อยู่ ดูแลครอบครัว เลี้ยงลูก เรียนต่อ ทำธุรกิจส่วนตัว หรืออื่น ๆ คุณควรจะเขียนใบลาออกล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าหากคุณจะลาออกจากงาน ต้องแจ้งล่วงหน้าและยื่นใบลาออกล่วงหน้าภายในกี่วัน ทั้งนี้ต้องมาดูที่สัญญาจ้างที่คุณทำกับบริษัทก่อนว่าเป็นแบบไหน และกฎระเบียบของบริษัทของคุณระบุไว้อย่างไรด้วยค่ะ

สัญญาแบบที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาทำงาน สัญญาลักษณะนี้เป็นสัญญาจ้างของพนักงานประจำ จะไม่มีการระบุระยะเวลาทำงาน ซึ่งทำให้คุณมีสิทธิยกเลิกสัญญารวมไปถึงบริษัทมีสิทธิยกเลิกสัญญาได้เช่นเดียวกัน เราจึงสามารถลาออกจากงานได้เมื่อไหร่ก็ได้

สัญญาแบบกำหนดระยะเวลา เรามักจะเห็นการทำสัญญาลักษณะนี้ในรูปแบบการจ้างงานแบบสัญญาจ้าง 6 เดือน หรือสัญญาจ้าง 1 ปี เมื่อทำงานครบระยะสัญญา ถือเป็นการสิ้นสุดการจ้างงานคุณไม่ต้องไปทำงานต่อได้ แต่ในกรณีนี้หากคุณต้องการลาออกจากงาน อาจจะต้องมีการจ่ายค่าเสียหาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในสัญญาของแต่บริษัทนั่นเอง

มาตรา 17 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่กรณีที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานนั้น ๆ

แม้ว่ากฎหมายจะไม่มีการกำหนดว่าต้องยื่นใบลาออกอย่างน้อย 30 วัน แต่เมื่อมองในความเป็นจริงแล้ว หากคุณยื่นใบลาออกทันทีและพรุ่งนี้ไม่มาทำงานอีกต่อไป อาจจะแสดงถึงความไม่รับผิดชอบ อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเพื่อนร่วมงานและคนที่ทำงานกับคุณ และอาจจะผิดต่อระเบียบ ข่อบังคับของบรัทของคุณ เพราะอย่างน้อยการแจ้งลาออกล่วงหน้า จะช่วยให้บริษัทสามารถจัดหาพนักงานคนใหม่ที่มาทำหน้าที่แทนคุณ หรือสามารถส่งต่องานของคุณให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นทำต่อได้ในระหว่างที่หาพนักงานคนใหม่ได้ นอกจากนี้การแจ้งลาออกล่วงหน้าต้องมีเขียนใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน เพราะหากบอกเพียงปากเปล่าจะทำให้ไม่มีหลักฐานในการลาออก บริษัทจะมองว่าเป็นการขาดงาน หากเกิน 3 วัน บริษัทมีสิทธิในการบอกเลิกจ้างคุณ และส่งผลกระทบต่อสิทธิที่คุณควรจะได้รับหลังลาออกจากงาน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โบนัสประจำปี เป็นต้น

เหตุผลในการเขียน ใบลาออก

หลายคนมีหลากหลายเหตุผลที่จำเป็นต้องลาออกจากงานกับที่ทำงานเดิม แม้ว่าบางคนอาจจะลาออกจากงาน โดยที่มีความไม่พึงพอใจในที่ทำงานมากนัก ไม่ว่าจะเรื่องวัฒนธรรมองค์กร เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือเหตุผลอื่นในแง่ลบ แต่เชื่อว่าแต่ละคนย่อมจะมีความรู้สึกที่ดีกับที่ทำงานเดิมของคุณเองอยู่บ้าง เพราะอย่างน้อยการให้เหตุผลดี ๆ ลงในใบลาออกของคุณเอง นอกจากจะทำให้บริษัทมองเราในทางที่ดีแล้ว หากวันใดวันหนึ่งคุณจำเป็นต้องกลับมาติดต่องานกับบริษัทเดิม หรืออาจจำเป็นต้องขอจดหมายอ้างอิงการทำงานจากที่ทำงานเดิม ก็จะทำให้ติดต่อเจรจาง่าย ไม่ขุ่นข่องหมองใจกันอีกด้วย

เทคนิคการเขียนใบลาออก

เทคนิคการเขียนใบลาออก

หากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะลาออกจากงาน คุณควรแจ้งหัวหน้างานทราบก่อน เพื่อเป็นการบอกกล่าวกันล่วงหน้า หลังจากที่คุณได้แจ้งหัวหน้างานเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเขียนใบลาออกอย่างเป็นทางการ แจ้งเหตุผลในการลาออก แม้ว่าจะลาออกด้วยความไม่พอใจเรื่องใดในที่ทำงานก็ตาม แต่คุณควรพยายามพูดในสิ่งที่ดีที่คุณได้รับในระหว่างทำงาน อย่างน้อยการจากกันด้วยดี นอกจากจะทำให้ต่างฝ่ายต่างนึกถึงแต่สิ่งดี ๆ ซึ่งกันและกันแล้ว ยังจะทำให้คุณสบายใจหลังจากที่ลาออกจากที่ทำงานเดิมแล้ว และเมื่อจำเป็นต้องกลับมาติดต่อกับบริษัทเดิมในเรื่องงานหรือเรื่องอื่น ๆ คุณจะได้รู้สึกสบายใจ ที่จะได้กลับมาพูดคุย ประสานงานกับบริษัทเดิมอีกครั้งหนึ่งด้วย 

เช็คสิทธิประกันสังคมกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา

กระทรวงแรงงานแจ้งสิทธิลูกจ้าง กรณีลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาข้างตามกำหนดระยะเวลาโดยประกันสังคมมีการปรับเพิ่มอัตราเงินทดแทนจากเดิมรับ 30% เป็น 45%  ครั้งละไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิจะได้รับเงินทดแทนในอัตสิทธิที่จะได้รับ (สิทธิที่จะได้รับกรณีว่างงานในอัตราใหม่ ซึ่งบังคับใช้ 2 ปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 )

1. กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน จากเดิม กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน

2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 45 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน จากเดิม กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินว่างงาน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุด ไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 90 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน

ตัวอย่างแบบฟอร์มใบลาออก

การลาออกจากงาน เป็นเรื่องธรรมดาของการทำงาน คุณควรจะเขียนใบลาออกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน เพื่อเป็นหลักฐานในการลาออกของคุณ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญในการลาออกจากงานจากที่ทำงานเดิมคือ การจากกันด้วยดี และรักษาความสันพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานทุกคนที่คุณเคยร่วมงานมา เพราะไม่แน่ว่าอนาคตของคุณอาจจะได้เจอกับเพื่อนร่วมงานเก่าของคุณในฐานะเพื่อนร่วมงานใหม่ หรืออาจจะเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจในอนาคตก็เป็นได้

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831