fbpx

เรื่องใกล้ตัวเกี่ยวกับ ใบกำกับภาษี มีไว้ทำไม?

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี หรือที่เรียกกันว่า Tax Invoice คือ เป็นเอกสารที่ผู้ให้บริการหรือคนที่เป็นเจ้าของกิจการที่จดเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นคนออกใบกำกับภาษีให้กับคนที่ซื้อสินค้าหรือซื้อบริการหลังจากขายสินค้าเหล่านั้นเสร็จเรียบร้อย เพื่อแสดงมูลค่าในการให้บริการหรือซื้อสินค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบการได้เรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อสินค้าและผู้มาใช้บริการในทุกๆ ครั้ง

ใครบ้างที่ควรทำใบกำกับภาษี

สำหรับคนที่เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ให้บริการแล้วมีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปีจากการประกอบกิจการ จะต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรภากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาท
โดยไม่ว่าการให้บริการหรือกิจการจะอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือเป็นแบบนิติบุคคลก็ตาม แต่ถ้าหากใครที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท หรือว่าเป็นธุรกิจที่ยกเว้นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจจะเลือกการจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่จดก็ได้

ออกใบกำกับภาษียังไง?

  • หากเป็นกรณีการขายสินค้า คนขายจะต้องออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับคนซื้อทันทีถ้าหากมีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
  • หากเป็นกรณีการให้บริการ คนที่ให้บริการจะต้องออกใบกำกับภาษีหลังจากได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว

ใบกำกับภาษี มีกี่ประเภท?

กำกับภาษีเต็มรูปแบบ

  1. ต้องเห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี” แบบชัดเจน
  2. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รวมถึงชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย
  3. ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
  4. เลขที่ใบกำกับภาษี
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และจำนวนเงิน
  6. แยกแสดงจำนวน VAT แยกให้เห็นชัดเจน
  7. วัน เดือน ปี ที่ออก
  8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด บังคับใช้กับผู้ประกอบการ
    8.1 ระบุ “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขาที่…..” ของผู้ขาย
    8.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ (โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    8.3 ระบุ “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขาที่…” ของผู้ซื้อ

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

  1. ต้องเห็นคำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” แบบชัดเจน
  2. ชื่อ หรือ ชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ
    ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
  3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม
    (ถ้ามี)
  4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของ
    บริการ
  5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุ
    ชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
  6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

ขอบคุณที่มา: กรรมสรรพากร

เป็นยังไงบ้างละครับกับเรื่องใกล้ตัวเกี่ยวกับ ใบกำกับภาษี ที่เราได้มาแนะนำวันนี้ หวังว่าจะช่วยให้เช็คใบกำกับภาษีที่เราได้มาในการซื้อสินค้าหรือซื้อบริการในทุกๆครั้ง เพื่อนำมาขอคืนภาษีทุกๆ สิ้นปีได้นะครับ

ติดตามบทความอื่นๆของ KMCP Accounting ได้ที่

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831