fbpx

รู้หรือไม่! ทำไมถึงต้องเสีย เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ยื่นแบบภ.พ.30 จะต้องยื่นแบบให้ตรงตามกำหนดของกรสรรพากร แต่หากมีการยื่นแบบล่าช้า หรือยื่นแล้วแต่มีการชำระที่ไม่ครบถ้วน จะต้องมีการเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่มตามมาอีกด้วย เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ เบี้ยปรับเงินเพิ่มให้เข้าใจกันมากขึ้นค่ะ

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม คืออะไร

ก่อนอื่นเราจะต้องแยกคำนี้ออกเป็น 2 ส่วนก่อน ได้แก่ เบี้ยปรับ และ เงินเพิ่ม สำหรับเบี้ยปรับ คือ เงินชดเชยความเสียหายให้แก่ภาครัฐ ส่วนเงินเพิ่ม คือ เงินที่เร่งรัดให้ผู้เสียภาษีจ่ายภาษีให้ถูกต้องโดยเร็ว โดยเบี้ยปรับจะถูกแบ่งเป็น 2 กรณีคือ เคยยื่นแบบเพิ่มเติมแล้วกับยังไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน และในกรณีที่ไม่เคยยื่นแบบมาก่อนจะโดนค่าปรับเพิ่มไปอีก ส่วนเงินเพิ่มจะคิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม คืออะไร

ค่าปรับอาญา เงินเพิ่ม และ เบี้ยปรับ

1. ค่าปรับอาญา เสียเท่าไหร่

  1. กรณียื่นแบบเกินกำหนด แต่ไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท
  2. กรณียื่นแบบเกินกำหนด เกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท

2. เงินเพิ่ม

  1. คิดในอัตรา 1.5% ต่อเดือน x ภาษีที่ต้องจ่ายชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
  • กรณีที่ไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม จ่ายชำระเฉพาะค่าปรับอาญาเท่านั้น

3. เบี้ยปรับชำระกี่วัน

ระยะเวลาการชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดชำระภาษีอัตราเบี้ยปรับกรณียื่นแบบเพิ่มเติมอัตราเบี้ยปรับกรณีไมไ่ด้ยื่นแบบมาก่อน
ชำระภายใน 1-15 วัน2%2% x 2 เท่า
ชำระภายใน 16 – 30 วัน5%5% x 2 เท่า
ชำระภายใน 31 – 60 วัน10%10% x 2 เท่า
ชำระภายหลัง 60 วัน20%20% x 2 เท่า

กรณีใดบ้างที่ต้องมีการเสียเบี้ยปรับ

  1. ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียน เบี้ยปรับ 2 เท่า หรือเงิน 1 พันบาทต่อเดือน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
  2. มิได้ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา เบี้ยปรับ 2 เท่า
  3. ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่จะต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
  4. ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ภาษีขายหรือภาษีซื้อคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
  5. กรณีผู้เสียภาษีได้ยื่นแบบฯ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนเป็นหนังสือ ตามกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียดังนี้
  6. มิได้จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เบี้ยปรับ 2 เท่า
  7. ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก เบี้ยปรับ 2 เท่า
  8. นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ เบี้ยปรับ 2 เท่า
  9. มิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย เบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
  10. มิได้เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี เบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
  11. มิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เบี้ยปรับ 2 เท่า

หากคุณยื่นแบบภ.ง.ด. และ ภ.พ.30 ล่าช้าหรือมีการบันทึกบัญชีทางด้านภาษีผิดพลาด จะต้องมีการเสีย เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้การตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีให้ถูกต้องและยื่นภาษีให้ตรงเวลาจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและเบี้ยปรับเงินเพิ่มด้วยค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831