fbpx

แม่ค้าพ่อค้าขายออนไลน์ ทำไมต้องยื่น ภ.ง.ด. 94

ภ.ง.ด 94

อีกหนึ่งหน้าที่ของคนที่ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีครึ่งปี หรือ ภ.ง.ด. 94 ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะปี 2563 ที่ผ่านมานั้น ทางธนาคารเริ่มส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรแล้ว ดังนั้นการยื่นภาษีครึ่งปีจึงสำคัญอย่างมากสำหรับคนที่กำลังค้าขายออนไลน์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นขายทาง Shopee หรือขายทาง Lazada แล้วใครบ้างที่ต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ลองไปอ่านบทความนี้กันดูครับ

การเสียภาษีบุคคลธรรมดา นอกจากการยื่นภาษีประจำปีแล้ว ยังมีเงินได้อีกกลุ่มที่ต้องเสียภาษีกลางปีผ่านการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนด้วย

1. ภ.ง.ด. 94 คืออะไร? มีกี่แบบ?

ภ.ง.ด. 94 คือ แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม และยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด. 94 มาหักออก

2. ใครบ้างต้องยื่น ภ.ง.ด. 94

บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) – (8) คือผู้ที่มีมาตราดังต่อไปนี้

  • มาตรา 40 (5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น
  • มาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
  • มาตรา 40 (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ
  • มาตรา 40 (8) เงินได้ที่นอกเหนือจากเงินได้มาตรา 40 (1) – (7) เช่น รายได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ขนส่งและการอื่น

1. การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

สามารถเลือกหักได้ภาษีเงินได้ 2 วิธี คือ

  1. หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร (ต้องมีเอกสารและหลักฐานครบ)
  2. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา อัตราจะแตกต่างไปตามเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) เช่น มาตรา 40(6)  เงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป์หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 60  ส่วนวิชาชีพอิสระอื่นๆ หักได้ ร้อยละ 30

 การหักค่าลดหย่อน :  สามารถหักได้ครึ่งหนึ่งตามสิทธิ์

3. ภ.ง.ด. 94 ต้องยื่นแบบ ในเดือนไหน?

ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี

4. จะเกิดอะไรถ้าไม่ยื่น ภ.ง.ด. 94

หากบุคคลธรรมดาไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 และชำระภาษีจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และคิดเงินส่วนเพิ่ม 1.5% ของภาษีที่ค้างจ่ายเป็นรายเดือน

ติดตามบทความอื่นๆของ KMCP Accounting ได้ที่

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc