fbpx

ภาษีป้ายร้านค้า จ่ายดีกว่า โดนสรรพากรปรับย้อนหลัง!

ภาษีป้ายร้านค้า

ภาษีป้ายร้านค้า จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่เปิดร้านค้าหรือค้าขายออนไลน์ที่ต้องรู้ และจะต้องมีการเสียภาษีซึ่งเป็นเรื่องปกติ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีโรงเรือน และหากมีป้ายร้านค้า จำเป็นจะต้องเสียภาษีป้ายร้านค้าเช่นเดียวกัน โดยในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีป้ายร้านค้ากันค่ะ

ภาษีป้ายร้านค้า คืออะไร?

ภาษีป้ายร้านค้า คืออะไร

ภาษีป้ายร้านค้า คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณา โดยป้ายที่มีลักษณะแสดงชื่อ ยี่ห้อ และเครื่องหมายการค้า สำหรับการประกอบกิจการ การทำการค้าหรือโฆษณาเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ หรือสัญลักษณ์ บนวัสดุใดๆ ก็ตาม ด้วยการเขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีการอื่นๆ ก็ตาม

ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษีมีอะไรบ้าง?

  1. ป้ายที่ติดภายในอาคาร
  2. ป้ายที่มีการเลื่อนเข้าเลื่อนออก (ป้ายที่มีล้อ)
  3. ป้ายของราชการ
  4. ป้ายโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชน
  5. ป้ายวัด สมาคม มูลนิธิ
  6. ป้ายที่ติดไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน รถแทรกเตอร์
  7. ป้ายที่ติดไว้ที่ยานพาหนะอื่น โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม.

อัตราภาษีป้ายร้านค้า

อัตราภาษีป้ายร้านค้า  ได้มีการประกาศอัพเดตใหม่จากเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2535 และเริ่มใช้อัตราภาษีป้ายร้านค้าใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา โดยกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้ายไว้ดังนี้

1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน

1.1 ป้ายที่มีข้อความที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 10 บาท ต่อขนาดป้าย 500 ตร.ซม.

1.2 ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 อัตราภาษีป้าย 5 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

2.ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ

2.1 ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. 

2.2 ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ 2.1 อัตราภาษีป้าย 26 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

3.ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ

หรือไม่และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

3.1 ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

3.2 ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ 3.1 อัตราภาษีป้าย 50 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

โดยเจ้าของป้ายร้านค้า ผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (แบบ ภ.ป.1) โดยมีเอกสารประกอบดังนี้

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขที่ทะเบียนการค้า
  4. หนังสือรับรองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (กรณีนิติบุคคล)
  5. รูปถ่ายป้าย พร้อมขนาดกว้าง x ยาว
  6. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย

ยื่นเอกสารภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี หากติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในป้าย ต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ติดตั้งใหม่หรือที่เปลียนแปลงข้อความใหม่ หากเจ้าของป้ายได้รับหนังสือแจ้งประเมินภาษี (แบบ ภ.ป.3) ให้ชำระภาษีภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน 

คำนวณภาษีป้ายร้านค้าอย่างไร

คำนวณภาษีป้ายร้านค้าอย่างไร

หากป้ายภาษีร้านค้าของคุณไม่เข้าข่ายป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้ายร้านค้า จะต้องมีการเสียภาษี โดยสามารถคำนวณภาษีป้ายร้านค้าด้วยตัวเองดังนี้

1.กว้าง x ยาว / พื้นที่ 500 ตร.ซม. = พื้นที่ที่ต้องเสียภาษี

2.พื้นที่ที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษี = ภาษีป้ายที่ต้องจ่าย

ตัวอย่างการคำนวณภาษีป้ายร้านค้า 

1. คำนวณพื้นที่ที่ต้องเสียภาษี

ป้ายร้านค้าเป็นป้ายอักษรไทยล้วน ขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 2.5 เมตร

คำนวณได้ดังนี้ 100 x 250 ซม. / 500 ตร.ซม. = 50 ตร.ซม.

2. คำนวณภาษีป้ายร้านค้าที่ต้องจ่าย

คำนวณได้ดังนี้ 50×10 = 500 บาท

จ่ายภาษีป้ายร้านค้าที่ไหนดี

จ่ายภาษีป้ายร้านค้าที่ไหนดี

1. กรุงเทพฯ ได้แก่ สำนักงานเขต และศาลาว่าการกรุงเทพมหานครที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่

2. ต่างจังหวัด ได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา เขตเทศบาล เขตสุขาภิบาล  เขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเขตเมืองพัทยา ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่

3. เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย

หากไม่จ่ายภาษีป้ายร้านค้า จะมีโทษอย่างไร

หากไม่จ่ายภาษีป้ายร้านค้า จะมีโทษอย่างไร

ภาษีป้ายร้านค้า เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่มีร้านค้าและป้ายร้านค้า จะต้องเสียภาษีป้ายร้านค้าซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าป้ายจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ และไม่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นการเสียภาษีป้ายร้านค้าก็จะต้องมีการเสียภาษีป้ายร้านค้า หากมีเจตนาหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีป้ายร้านค้า จะมีอัตราค่าปรับดังต่อไปนี้

1. อัตราค่าปรับหากไม่จ่ายภาษีป้ายร้านค้า

1.1ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 10% ของค่าภาษี

1.2 ไม่ชำระเงินค่าภาษี หลังจากที่ยื่นแบบภายใน 15 วัน จะต้องเสียค่าปรับ 2% ของค่าภาษี

1.3 ถ้ายื่นภาษีไม่ตรงตามความเป็นจริง จะต้องเสียค่าภาษีที่ขาดไป และเสียค่าปรับอีก 10% ของค่าภาษี

2. บทลงโทษถ้าหากไม่จ่ายภาษีป้ายร้านค้า

2.1 จงใจไม่ยื่นแบบประเมินภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท

2.2 ไม่เสียภาษีป้ายร้านค้า ภายในกำหนด ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาท

2.3 ไม่แจ้งการรับโอนป้าย หรือไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้าย ณ สถานประกอบการค้าหรือสถานประกอบการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท

2.4 แจ้งความหรือให้การเท็จ เพื่อเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาษีป้ายร้านค้า เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่มีหน้าร้านและทำป้ายร้านค้าควรทำความเข้าใจว่า ป้ายภาษีแบบไหนต้องเสียภาษี และเสียภาษีเท่าไหร่ เพื่อคุณจะได้มีการเสียภาษีได้อย่างถูกต้องและไม่ถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังและต้องเสียค่าปรับอีกด้วยค่ะ

Ref: http://www.phuketlocal.go.th/files/download/20190103095336sdmgh.pdf

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831