fbpx

ประเภทธุรกิจ มีกี่ประเภท? รู้ไว้ก่อนคิดจะทำธุรกิจ!

ประเภทธุรกิจมีกี่ประเภท รู้ไว้ก่อนคิดจะทำธุรกิจ

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจทำธุรกิจ รู้หรือไม่ว่าธุรกิจมีกี่ประเภทและ ประเภทธุรกิจ ที่คุณจะทำอยู่ในประเภทไหน ทั้งนี้เพราะมีผลต่อการจดทะเบียนและการเสียภาษีนั่นเอง เพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น เรามาดูกันว่าธุรกิจมีกี่ประเภทและแต่ละประเภทธุรกิจมีลักษณะอย่างไร

1. ธุรกิจมีกี่ประเภท?

ธุรกิจมีกี่ประเภท

ปกติแล้วเรามักจะเคยได้ยินการเรียกประเภทธุรกิจโดยเรียกตามขนาด เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ในทางกฎหมายได้แบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น 5 ประเภทดังต่อไปนี้

1. กิจการเจ้าของคนเดียว

กิจการเจ้าของคนเดียว

กิจการเจ้าของคนเดียว เป็นประเภทธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นทั้งเจ้าของ และบริหารเอง จึงทำให้กิจการเจ้าของคนเดียวนี้มีความคล่องตัวสูง ไม่ยุ่งยาก เจ้าของกิจการสามารถบริหารงานและตัดสินใจได้เองอย่างอิสระ เรามักจะพบรูปแบบกิจการเจ้าของคนเดียวได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย ร้านเสริมสวย ร้านหาบเร่แผงลอย เป็นต้น

2. ห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วน

กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มีการลงทุนทางการเงินหรือแรงกายร่วมกัน ซึ่งเรียกว่าหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ก็เพื่อมีการแบ่งกำไรจากการดำเนินกิจการร่วมกัน  สามารถทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ และสามารถทำสัญญาด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร สำหรับห้างหุ้นส่วนจะแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญห้างหุ้นส่วนจำกัด
จำนวนผู้ถือหุ้นมีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ
สิทธิของผู้ถือหุ้นผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน
แหล่งทุนทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้
การจดทะเบียนจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
การชำระหนี้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ

3. บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด

เป็นการประกอบกิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถือหุ้นเท่ากัน รับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนที่ลงทุน และมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทขึ้นมาบริหารและตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมี บริษัทมหาชนจำกัด มาจากการที่บริษัทจัด มีการนำหุ้นออกขายให้คนทั่วไปเพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัท ตามสัดส่วนที่ซื้อและสามารถขายต่อได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน

4. สหกรณ์

องค์กรบุคคลที่มีอาชีพ ความต้องการ ความสนใจที่คล้ายกันร่วมตัวกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพของสมาชิกและส่งเสริมความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สมาชิกแต่ละคนโดยมีการควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร เป็นต้น

5. รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรของรัฐ หรือหน่วยงานที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 ถือเป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไร เช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจแบ่งออกเป็น  2  ประเภท

2. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

1.เพื่อความมั่นคงของประเทศ เพราะบางกิจการมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

2.เพื่อประโยชน์ของสังคมในการให้บริการประชาชน 

3.เพื่อหารายได้เข้ารัฐ  เพราะธุรกิจบางประเภทมีผลกำไรเป็นจำนวนมาก เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น

4.เพื่อควบคุมสินค้าบางชนิดที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม เช่น โรงงานสุรา โรงงานยาสูบ เป็นต้น

5.เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศพร้อมกับเชิญชวนมาให้ท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

5.1 รัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล

เป็นองค์กรและหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีการดำเนินงานที่แยกออกจากผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการโดยเฉพาะ เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การสวนสัตว์ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทขนส่ง เป็นต้น

5.2 รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล

เป็นกิจการบางอย่างของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยใช้ทุนดำเนินการของรัฐทั้งหมด สังกัดหน่วยงานราชการที่เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น โรงงานยาสูบและสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นต้น

ประเภทธุรกิจ มีหลากหลายประเภท ก่อนตัดสินใจทำธุรกิจประเภทไหน ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน เพราะมีผลต่อการจดทะเบียนและการเสียภาษีนั่นเองค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831, 063-150-5855