fbpx

จดบริษัทใช้ ทุนจดทะเบียนบริษัท เท่าไหร่? ไม่มีเงินจดได้ไหม?

ทุนจดทะเบียน

ในการจัดตั้งบริษัทนอกจากจะต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว ยังจะต้องมีทุนจดทะเบียนเพื่อยื่นขอจดแจ้งให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดย ทุนจดทะเบียน นี้เปรียบเสมือนเงินทุนหมุนเวียนในการจัดตั้งบริษัท บทความนี้เราจะให้ความรู้เกี่ยวกับทุนจดทะเบียนกันค่ะ

ทุนจดทะเบียนบริษัท คืออะไร

ทุนจดทะเบียนบริษัท คืออะไร

ทุนจดทะเบียนบริษัท คือจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนของบริษัทที่จะก่อตั้งนั้นตกลงกันว่าจะต้องใช้เงินลงทุนกี่บาทเพื่อใช้ในการก่อตั้งธุรกิจ และต้องขอแจ้งจดที่กรมพัฒนาธุรกิจ โดยต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 คนขึ้นไป โดยที่แต่ละคนจะต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 บาทต่อหุ้น นอกจากนี้ยังจะต้องประเมินขนาดของธุรกิจเพื่อที่จะได้ดูว่าควรจะเตรียมเงินทุนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เพราะเงินทุนก้อนนี้จะสามารถนำมาให้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และกำลังความสามารถในการชำระหนี้ต่อไปได้นั่นเอง

ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว คืออะไร

ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว คืออะไร

ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นชำระหุ้นเข้ามาจริง เพื่อนำไปใช้ดำเนินการกิจการต่อไป โดยต้องมีการชำระค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน หรือจะจ่าย 100% เลยก็ได้ตามความสมัครใจ เพราะไม่ได้มีกฎหมายว่าจะต้องจ่ายเต็ม 100 แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 25% ของทุนจดทะเบียนนั่นเอง

อยากเปิดบริษัทต้องใช้ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่

อยากเปิดบริษัทต้องใช้ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่

เนื่องจากแต่ละบริษัทมีขนาดของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจแตกต่างกัน จึงทำให้ไม่มีกฎหมายอะไรมากำหนดว่าแต่ละบริษัทจะต้องมีทุนจดทะเบียนมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นจะต้องทราบเองว่าจะต้องเตรียมเงินทุนนั้นเพื่อเอาไปใช้ลงทุนอะไรบ้าง ประมาณกี่บาท ก็พอที่จะคำนวณหาเงินลงทุนได้ โดยที่ทุนจดทะเบียนนั้นจะต้องมากกว่าเงินลงทุนสักหน่อย เพื่อจะได้มีความสอดคล้องไปด้วยกัน เช่น

หากนาย ก จะเปิดบริษัทขายสินค้าชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีเงินลงทุนที่สูงมากนัก ทุนจดทะเบียนก็อยู่ที่ 1,000,000 บาท แต่ถ้าเทียบกันบริษัทของนาย ข ซึ่งจะทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือต้องใช้เงินลงทุนสูง ทุนจดทะเบียนควรจะอยู่ที่ประมาณ 100,000,000 บาท เป็นต้น

หากไม่มีเงินสักบาท สามารถจดทะเบียนบริษัทได้หรือไม่

หากไม่มีเงินสักบาท สามารถจดทะเบียนบริษัทได้หรือไม่

ในการตรวจสอบเอกสาร เจ้าหน้าที่จะไม่ได้ตรวจในส่วนของเงินฝากธนาคารที่ใช้สำหรับการจัดตั้งบริาัท แต่จะมีการขอดูเอกสารชำระค่าหุ้นในตอนที่ส่งเอกสาร แต่หากบริษัทไหนที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หรือมีชาวต่างชาติถือหุ้นด้วย จะต้องมีเงินทุนจริงนับตั้งแต่วันจดทะเบียนบริษัท เนื่องจากจะมีการตรวจสอบเงินทุนที่ชำระว่ามีจริงตามที่มีการจดทะเบียนหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแอบอ้างจดทะเบียนบริษัทและไปหลอกลวงผู้อื่น

ทุนจดทะเบียนบริษัท จะต้องชำระเมื่อไหร่

ทุนจดทะเบียนบริษัท จะต้องชำระเมื่อไหร่

เมื่อไหร่ที่จะต้องเริ่มเรียกเก็บเงินทุนจดทะเบียนต้องมีการตกลงกันเองระหว่างผู้ถือหุ้นเอง รวมไปถึงบัญชีที่ใช้เก็บก้อนนี้ ซึ่งจะต้องแยกออกจากบัญชีส่วนตัวของผู้ถือหุ้นด้วย เป็นการแยกส่วนบัญชีที่ใช้เฉพาะกับบริษัท เพื่อลดปัญหาการทำบัญชีและการใช้จ่ายนั่นเอง  

สำหรับในตอนจดทะเบียน ผู้ถือหุ้นยังไม่ต้องจ่ายค่าทุนจดทะเบียนให้กับทางกรมพัฒนาธุรกิจ แต่หลังจากที่มีการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะต้องมีการรวบรวมเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นแต่ละคน เพื่อนำไปเป็นทุนในการเปิดบัญชีเพื่อจัดตั้งบริษัท เพื่อใช้เกี่ยวกับบริษัทและเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในบริษัทนั่นเอง

แต่บางครั้งอาจเกิดกรณีที่บางบริษัทไม่ได้มีการใส่เงินจริงเข้าไปในบริษัท เรียกว่า การจดทะเบียนบริษัทลอย ซึ่งการกระทำแบบนี้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากมีผลกระทบต่อการทำบัญชีที่ยากมากขึ้นและยังมีผลกระทบต่อการเสียภาษีที่ต้องเสียภาษีมากขึ้นอีกด้วย

ที่มา: กรมสรรพากร

ทุนจดทะเบียน สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

เงินทุนจดทะเบียนจะมีการเรียกเก็บจากผู้ถือหุ้น 25% ใช้สำหรับเป็นเงินทุนในการก่อตั้งบริษัท เงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในบริษัท ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายภายในบริษัท ค่าจ้างพนักงาน แต่เงินจำนวนนี้จะใช้เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริษัทไม่สามารถนำไปใช้ในเรื่องส่วนตัวได้เด็ดขาด

ก่อนจดทะเบียนบริษัท ควรจะมีการประเมินธุรกิจก่อนว่าเราควรจะเตรียมเงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจกี่บาท เพื่อให้สามารถกำหนด ทุนจดทะเบียน ให้เหมาะสมสำหรับธุรกิจของคุณ รวมไปถึงมีการเรียกเก็บเงินทุนจดทะเบียนให้ได้เป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว เพื่อให้บริษัทของคุณมีเงินทุนสำหรับหมุนเวียนในธุรกิจต่อไปค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831